สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วั นเดื อนปีที่ สุนทรภู่แต่งงานค�ำกลอนห้าเรื่ อง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๓๘๕ 100 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 (ยานี ๑๑) “ยากเย็นเห็นหน้าเจ้า สร่างโศกเศร้าเจ้าพี่อา อยู่วังดังจันทรา มาหม่นหมองลอองนวล” (ยานี ๑๑) “ขึ้นกดบทอัศจรรย์ เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง นกหกตกรังรวง สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง แดนดินถิ่นมนุษย์ เสียงดังดุจเพลิงโพลง ตึกกว้านบ้านเรือนโรง โคลงคลอนเคลื่อนเขยื้อนโยน บ้านช่องคลองเล็กใหญ่ บ้างตื่นไฟตกใจโจน ปลุกเพื่อนเตือนตะโกน ลุกโลดโผนโดนกันเอง” “สององค์ทรงสังวาส โลกธาตุหวาดหวั่นไหว ตื่นนอนอ่อนอกใจ เดินไม่ได้ให้อาดูร” ส� ำหรับเรื่องราวเดียวกันนี้ ที่มีเนื้อหาตรงกัน มีปรากฏอยู่ในนิทานพระอภัยมณี ตอนที่ ๔๘ หน้า ๙๖๘, ๙๗๓, ๙๗๘ ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเจ้าหญิง ด้วยเพราะมีหลักฐานเป็น งานเรื่อง “พระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ” โดย คุณสุวรรณ ที่ถวายตัวอยู่ในส� ำนักของ พระองค์ มาตั้งแต่ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ และได้แต่งเรื่องนี้หลังเหตุการณ์ใน “เมื่อเดือนสี่ปีเถาะเคราะห์เหลือใจ” หรือมีนาคม ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๘๖ โดยยังได้ย้อนกล่าวถึงเหตุการณ์ของพระองค์กับสุนทรภู่ไว้ด้วย ว่า “สารพัดขัดคิดเป็นนิจกาล สิ่งส� ำราญหายวับไปกับตา แต่ปีฉลูเดือนเก้าเป็นคราวยาก น�้ ำท่วมปากโอ้อนาถหนอวาสนา” ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้ เพราะบริบทเหมาะที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพื่อที่จะบันทึกไว้ว่า ตัวละคร “กระเทยที่เคยใช้” หรือ “มาลัยมาลา” หรือ “มาลามาลัย” ที่ปรากฏอยู่เพียงในตอนที่ ๔๘ ถึง ๕๑ เธอคือ หม่อมสุด และหม่อมข� ำ หรือคุณโม่ง และหม่อมเป็ด ที่มีประวัติเป็นหม่อมห้าม ในกรมพระราชวังบวรมหา ศักดิพลเสพย์ เมื่อพระองค์สวรรคต จึงย้ายมาประจ� ำที่ต� ำหนักของเจ้าหญิงพระองค์นี้ ทั้งสองมีพฤติกรรม แปลก เป็นคู่เล่นเพื่อนกัน จึงได้รับประทานชื่อดังกล่าว เข้าใจได้ว่าคนเหล่านี้ทั้งหมดได้ติดตามเจ้าหญิงไป ในทุกโอกาส รวมทั้งครั้ง “น�้ ำท่วมปาก” ที่สุนทรภู่อ้างตามที่จดบันทึกไว้ว่าเป็น “เดือนแปด” ส่วนเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพของเจ้าหญิง โดยสุนทรภู่ ในนิทานหน้าดังกล่าว ก็มีอยู่ดังนี้ คือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=