สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วั นเดื อนปีที่ สุนทรภู่แต่งงานค�ำกลอนห้าเรื่ อง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๓๘๕ 98 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 หรือขยายความกันอยู่ในงานชิ้นต่าง ๆ ซึ่งโดยมากเรียงตามล� ำดับของเหตุการณ์ ที่น่าสนใจอีกก็คือ ในทุก ครั้งที่ผู้เขียนได้อ่านซ�้ ำ ก็มักจะได้รู้ถึงสิ่งที่ไม่เคยได้รู้จากสุนทรภู่อยู่เสมอ ซึ่งช่วยท� ำให้ได้ปรับความเข้าใจ อย่างน้อยก็ท� ำให้เรื่องที่เคยรู้มาก่อนชัดเจนขึ้น หรืออ่านแล้วสนุกขึ้น เนื่องจากได้รู้เรื่องตามนัยจนสามารถ เรียงเรื่องได้สมจริงมากขึ้น ที่ผ่านมา เนื่องจากยังมีการปฏิเสธกันว่า งานหลายชิ้นไม่ใช่ของสุนทรภู่ ดังนั้น ด้วยความคิด เช่นนี้ข้อมูลส� ำคัญที่สุนทรภู่ตั้งใจส� ำทับ หรือบอกกล่าวเป็นลายแทงไว้มากมายในชิ้นงานเหล่านั้นจึงขาด ไปพร้อม ๆ กับประวัติขณะนั้นเหมือนตัวต่อที่หายไป เช่นเดียวกับการวินิจฉัยปีแต่ง ซึ่งหากคลาดเคลื่อน หรือไม่มีโอกาสได้เอามาใช้ ก็จะก่อปัญหาได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ที่เรื่องเช่นนี้ยังด� ำเนินอยู่ เพราะงานที่สร้าง ปัญหาเหล่านั้น มากมายยังมีการพิมพ์ซ�้ ำอยู่เสมอ โดยมิได้มีการปรับปรุงแก้ไข เหมือนผู้เกี่ยวข้องยังส� ำคัญว่า ความรู้ของตนนั้นถูกต้อง หรือคิดว่างานเหล่านั้นถูกต้อง ผู้ค้นคว้างานค� ำกลอนของสุนทรภู่ที่เคร่งครัด จึงต้องมีคุณสมบัติในการเอางานของสุนทรภู่มาอ่าน แล้วอ่านอีก และจดจ� ำข้อมูล โดยเฉพาะเวลาและเหตุการณ์ที่สลับซับซ้อนกับเรื่องจินตนาการ จนสามารถ ปะติดปะต่อเรื่องทั้งจากภายในและภายนอกของแต่ละเรื่อง ให้ได้ผลใกล้ความจริงที่ต่อเนื่อง และสอดคล้อง กับเวลามากที่สุด เพราะกล่าวได้ว่า ค� ำกลอนทุกบทของสุนทรภู่ล้วนมีนัยหรือมีที่มาที่ไปแทบทั้งสิ้น เรื่องจริงหลายเรื่องที่ปนอยู่กับเรื่องจินตนาการก็ไม่ยากที่จะเข้าใจ และแยกออกจากกันได้ อีกทั้งจากค� ำ เปรียบเทียบอุปมาอุปไมย แต่ละเรื่องจึงสามารถกรองออกมาได้ เหมือนด้วยเครื่องมือจับสัตว์น�้ ำต่างชนิด ต่างพฤติกรรม ก็ต้องมีเป็นเฉพาะงานหรือวิธีใช้ให้เกิดประโยชน์ที่ต่างกัน แต่สอดคล้องและต่อเนื่องกัน ช่วยอธิบายกันได้ หลังจากนั้น ผู้เขียนได้ทยอยค้นคว้าต่อ จนขณะนี้ได้เป็นผลงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์อีกเกือบ ๒๐ ชิ้นงาน เกี่ยวกับบุคคล ระหว่างบุคคล พฤติกรรมของลูกหลาน ผู้ร่วมคณะ การเดินทาง สุภาษิต ภาษาค� ำ กลอน ประวัติศาสตร์ สังคม คารมของการเปรียบเทียบ ร� ำพึงร� ำพัน ความอาลัยอาวรณ์ แสดงความหวัง ความผิดหวัง ชื่อบ้าน ชื่อเมือง เจ้านาย ชาวบ้าน หญิงคนรักที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและในช่วงระหว่างนั้น อีกทั้งบทอัศจรรย์ การบ้านการเมือง ธรรมชาติ การละเล่นรื่นเริงและอื่น ๆ เพื่อจุดประสงค์ที่จะเข้าใจว่า สุนทรภู่คือใคร พระอภัยมณี... มาจากไหน? ใครเป็นใครในเหตุการณ์ใด และอะไรเป็นอะไร ในงาน ค� ำกลอนของสุนทรภู่ เมื่อประกอบกับผลงานเรื่อง “สุนทรภู่แต่งนิราศพระแท่นดงรังทั้งสองส� ำนวน” ที่เผยแพร่ มาก่อนในวารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๑; ๓๓ (๑) หน้า ๒๐๑-๒๒๐ และข้อมูลส� ำคัญ อื่น ๆ ที่ตีความได้จากงานที่แต่งขึ้นโดยสุนทรภู่ ทั้งหมดจึงสามารถน� ำมาร้อยเรียงได้เป็นประวัติและงาน ของสุนทรภู่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๔๙-๒๓๘๕ ติดต่อกันทุกปี จะมีที่ยังขาดไปก็เป็นระหว่างวัยเด็กตั้งแต่เกิด พ.ศ. ๒๓๒๙-๒๓๔๘ ซึ่งอาจจะมีอยู่ในเรื่อง “โคบุตร” ที่แต่งใน พ.ศ. ๒๓๔๙-๒๓๕๐ หรือ “สิงหไกรภพ”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=