สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ ด้วยข้อสันนิษฐานของผู้เขียน ว่างานทุกเรื่องของสุนทรภู่ เหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่งขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ด้วยหลักฐานทั้งจากในและนอกเรื่อง ระหว่าง ๕ เรื่อง ที่น� ำมาศึกษารวมทั้งบางตอนจากเรื่องพระอภัยมณีค� ำกลอน ที่แต่งในระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งตรงกับ ช่วงเกิดปัญหาใหญ่ กับเจ้าหญิงองค์หนึ่งในระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๓๘๕ ทั้งหมดได้น� ำไปสู่การค้นพบ วันเวลาของการแต่งแต่ละเรื่อง ในผลงานฉบับนี้ผู้เขียนได้เสนอขั้นตอนในการสืบค้นจนได้วัน เดือน ปี แต่งที่แน่นอน ของเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา โคลงนิราศสุพรรณ ร� ำพันพิลาป นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร ตามล� ำดับ ซึ่งทั้งหมดเป็นการแต่งในเวลาและเนื้อหาเดียวกัน หรือต่อเนื่องกัน เหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน ค� ำส� ำคัญ : สุนทรภู่, งานค� ำกลอนสุนทรภู่, ปีที่แต่ง วันเดือนปีที่สุนทรภู่แต่งงานค� ำกลอนห้าเรื่อง ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ต่อจากผลงานเรื่อง “พระอภัยมณี... มาจากไหน?” ที่เผยแพร่ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้เขียนได้ท� ำการ ค้นคว้าต่อเป็นงานเรื่อง “ลายแทงของสุนทรภู่” ที่เผยแพร่ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อแสดง หลักฐานและเหตุผลว่า “ทุกเรื่องของสุนทรภู่จึงดูเหมือนเรื่องเดียวกัน ในด้านประวัติของตัวท่านเอง เพียง แต่เป็นคนละตอนเท่านั้น” นอกจากนี้ก็ยังสามารถตอบค� ำถามได้ว่า “นิราศภูเขาทอง” “นิราศอิเหนา” และ “นิราศเมืองเพชร” ซึ่งล้วนเป็นสุดยอดค� ำกลอนนั้นแต่งขึ้นเมื่อใด และเมืองใน “พระอภัยมณีค� ำกลอน” มี อยู่ที่ไหนบ้าง เพราะตามนิสัยของการแต่งเรื่องเป็นค� ำกลอนของสุนทรภู่ นอกจากเนื้อหาตามหัวข้อเรื่องแล้ว เขาจะสอดแทรกเรื่องของตัวเอง อารมณ์ ความคิดความหวัง ความรู้สึกว้าเหว่ผิดหวัง ทั้งอดีตและขณะนั้น ลงไปด้วย เสน่ห์ของค� ำกลอนในทุกเรื่องมีอยู่ที่ค� ำพังเพย ค� ำเปรียบเทียบมากมาย เกี่ยวกับคนและธรรมชาติ ที่ล้วนกินใจ ประวัติและความคิดในแง่มุมต่าง ๆ นั้นดูเหมือนจะมีครบอยู่ทุกเรื่องตลอดชีวิตของสุนทรภู่ โดยมีกระจายอยู่ตั้งแต่ในเรื่องแรก (พ.ศ. ๒๓๔๙) จนถึงเรื่องสุดท้าย (พ.ศ. ๒๓๘๕) และยังมีที่ซ�้ ำแล้วซ�้ ำอีก ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๓๘๕

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=