สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีปล่องลมแสงอาทิตย์ 2 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ภัยพิบัติต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเชื่อว่า บางเหตุการณ์น่าจะมีสาเหตุมาจากการที่โลกของเรา ก� ำลังปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะสมดุลอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน (global warming) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์นั่นเอง การเพิ่มปริมาณของ CO 2 ซึ่งเป็น หนึ่งในแก๊สเรือนกระจก ถือว่าเป็นสาเหตุส� ำคัญประการหนึ่งของภาวะโลกร้อน ประมาณ ๓ ใน ๔ ของ ปริมาณ CO 2 ทั้งหมดจากกิจกรรมของมนุษย์นั้นเป็นผลมาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล อันได้แก่ ถ่านหิน น�้ ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ในหลายประเทศจึงมีแนวคิดและความพยายามที่จะหา แหล่งพลังงานอื่นขึ้นมาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น การใช้พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานแสงอาทิตย์ ในการผลิตไฟฟ้า ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้น แหล่งพลังงานถือเป็นปัจจัยส� ำคัญ อย่างหนึ่ง เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น หลายท่านยังคงจ� ำได้ถึงวิกฤติพลังงานส� ำหรับ ประเทศไทยเมื่อครั้งที่ประเทศเมียนมาหยุดซ่อมแซมท่อส่งแก๊สมายังประเทศไทย หรือเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ทั่วภาคใต้เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว และในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak load) มีข้อมูลว่า ประเทศไทยต้องซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรตระหนัก ถึงความส� ำคัญของพลังงานทางเลือก ร่วมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับประเทศ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส� ำหรับประเทศไทยนั้น จากข้อมูลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานพบว่า ความเข้ม ของรังสีดวงอาทิตย์มีค่าสูงสุดในเดือนเมษายน โดยมีค่าความเข้มสูงกระจายอยู่ระหว่าง ๒๐-๒๓ เมกะจูล/ ตารางเมตร-วัน ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหากคิดเฉลี่ยทั้งปีจะพบว่า ค่าความเข้ม ของรังสีดวงอาทิตย์ทั่วประเทศจะมีค่าเท่ากับ ๑๘ เมกะจูล/ตารางเมตร-วัน บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุด (๑๙-๒๐ เมกะจูล/ตารางเมตร-วัน) โดยครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เป็นที่ราบสูงค่อนข้างแห้งแล้งท� ำให้เมฆก่อตัวได้น้อยจึงได้รับความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ในปริมาณที่สูง ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ (solar energy potential) ของพื้นที่หนึ่ง ๆ แสดงถึงความสามารถ ของพื้นที่นั้น ๆ ที่จะน� ำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ค่าศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์เป็น สัดส่วนโดยตรงกับปริมาณความเข้มของรังสีที่ตกกระทบ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า ประเทศไทยนั้นมี ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังแสดงในรูปที่ ๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=