สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นิพนธ์ ทรายเพชร 63 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ค.ศ. ๒๐๐๗ ๒๕ กุมภาพันธ์ ผ่านใกล้ดาวอังคาร เครื่องมือวัดสนามแม่เหล็กและพลาสมาของยานไฟลีได้ตรวจพบ สนามแม่เหล็กของดาวอังคารที่สลับซับซ้อน ในขณะที่เครื่องมือถ่ายรูปในช่วงคลื่นต่าง ๆ ของโรเซตตาก็ได้ ถ่ายรูปดาวอังคารโดยใช้แผ่นกรองแสงชนิดต่าง ๆ กัน ในระหว่างการอยู่ในเงามืดของดาวอังคาร เครื่องมือ ต่าง ๆ ของโรเซตตาถูกปิดทั้งหมด ยกเว้นของไฟลีซึ่งใช้แบตเตอรี่ เครื่องมือในไฟลีถ่ายภาพดาวอังคาร นับว่า เป็นการทดสอบเครื่องมือภายในยานได้เป็นอย่างดี ยานได้ใช้แรงเหวี่ยงของดาวอังคารเพื่อเปลี่ยนทิศทาง ไปยังโลกในการเข้าใกล้โลกที่สุดอีกครั้งหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน ๘ พฤศจิกายน เข้าใจผิดคิดว่ายานโรเซตตาเป็นดาวเคราะห์น้อย ๑๓ พฤศจิกายน ยานโรเซตตาใช้แรงเหวี่ยงโลกเป็นครั้งที่ ๒ โดยเข้าใกล้โลกที่สุดที่ระยะ ๕,๒๙๕ กิโลเมตร เมื่อเวลา ๒๐ : ๕๗ UTC เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ๔๕,๐๐๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ค.ศ. ๒๐๐๘ ๕ กันยายน ผ่านเฉียดดาวเคราะห์น้อย ๒๘๖๗ สไตน์ (2867 Steins) ยานผ่านแถบดาวเคราะห์ น้อยในระยะ ๘๐๐ กิโลเมตร ด้วยความเร็วอย่างช้า ๆ เพียง ๘.๖ กิโลเมตร/วินาที (๓๐,๙๖๐ กิโลเมตร/ ชั่วโมง) ค.ศ. ๒๐๐๙ ๑๓ พฤศจิกายน โลกเหวี่ยงเป็นครั้งที่ ๓ และสุดท้ายยานเข้าใกล้โลกที่สุด ๒,๔๘๑ กิโลเมตร เหนือ ลองจิจูด 109°E ละติจูด 8°S (ใกล้ฝั่งของเกาะชวาในอินโดนีเซีย) เมื่อเวลา ๐๗ : ๔๕ UTC โดยที่ยาน เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ๔๘,๐๒๔ กิโลเมตร/ชั่วโมง ค.ศ. ๒๐๑๐ ๑๖ มีนาคม สังเกตหางฝุ่นของดาวเคราะห์น้อย P/2010A 2 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลร่วมสังเกต ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ด้วยและเป็นการยืนยันว่า P/2010A 2 ไม่ใช่ดาวหาง แต่เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีหาง เป็นอนุภาคซึ่งเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กกว่า ๑๐ กรกฎาคม ผ่านเฉียดและถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อย ๒๑ ลูต์เทีย (21 Lutetia) ค.ศ. ๒๐๑๑ ๘ มิถุนายน ยานถูกบังคับให้อยู่ในลักษณะการทรงตัวด้วยการหมุนและปิดไฟฟ้า ยกเว้นคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ยานจ� ำศีล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=