สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นิพนธ์ ทรายเพชร 51 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ รูปที่ ๑ ใจกลางหัวดาวหางฮัลเลย์ ถ่ายโดยยานจอตโต ที่มา : http://wpcontent.answcdn.com/wikipedia/en/thumb/c/cd/Halley_Giotto.jpg/ 220px-Halley_Giotto.jpg ทั้งองค์การอวกาศยุโรปและองค์การอวกาศของสหรัฐอเมริกา (นาซา) ได้ร่วมมือกันพัฒนายานส� ำรวจ ดาวหางรุ่นใหม่ โดยที่นาซาพัฒนายาน CRAF (Comet Rendezvous Asteroid Flyby) ส่วนองค์การ อวกาศยุโรปพัฒนาโครงการ CNSR (Comet Nucleus Sample Return) ทั้ง ๒ โครงการจะใช้ยานอวกาศ ที่ออกแบบเหมือนกัน คือ ยานมารีเนอร์ มาร์ค II ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ ภายหลังที่นาซายกเลิกโครงการ CRAF เพราะขาดงบประมาณ องค์การอวกาศยุโรปจึงตัดสินใจพัฒนา CRAF ในรูปแบบของตนเอง ใน ค.ศ. ๑๙๙๓ องค์การอวกาศยุโรปเห็นว่า โครงการน� ำชิ้นส่วนของดาวหางกลับมายังโลกท� ำได้ยากตามงบประมาณที่มีอยู่ ดังนั้น จึงเปลี่ยนการออกแบบยานใหม่ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากองค์การอวกาศยุโรป เป็นแผนงานคล้าย โครงการ CRAF ที่ถูกยกเลิก โดยที่ยานนี้จะผ่านเฉียดดาวเคราะห์น้อยแล้วเลยไปวนรอบดาวหาง พร้อมการสังเกตต่อเนื่องและยานลงดาวหาง นั่นคือ โครงการโรเซตตาส� ำรวจดาวหางซึ่งภายหลังยาน ขึ้นสู่อวกาศแล้ว เกอร์ฮาร์ด ชเวม ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อ� ำนวยการโครงการ ชเวมเกษียณอายุเมื่อเดือน มีนาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ ความอัศจรรย์ของยานอวกาศโรเซตตากับดาวหาง ยานอวกาศโรเซตตา (Rosetta) วนรอบดาวหาง ๖๗ พี/เชอรียูมอฟ-เจอราซิเมนโก (67P/Churyumov- Gerasimenko) เมื่อวันพุธที่ ๖ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ เวลา ๐๘ : ๔๕ GMT ยานใช้เวลา ๒-๓ วันในการวน รอบดาวหางที่ระยะห่างประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร เป็นยานอวกาศล� ำแรกที่ไปโคจรรอบดาวหาง หลังจาก การเดินทางจากโลกไป ๑๐ ปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=