สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ประสิทธิ์ ฟูตระกูล และ นริสา ฟูตระกูล 47 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ๓. การรักษาป้องกันโรคไตเรื้อรัง การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังตามเวชปฏิบัติทั่วไปในปัจจุบันล่าช้า เหตุเพราะดัชนีคัดกรองโรคไม่ไวพอ ตรวจจับได้เมื่อการท� ำงานของไตเสื่อมลงร้อยละ ๕๐ หรือมากกว่า เป้าหมายของการรักษาโดยทั่วไปก็มิได้ มุ่งเป้าเพื่อแก้ไขภาวะไตขาดเลือดซึ่งเป็นกลไกส� ำคัญที่ท� ำลายไต การแก้ไขที่ควรจะเป็นคือ การให้ยาออกฤทธิ์ ขยายหลอดเลือดเพื่อต้านฤทธิ์สารออกฤทธิ์หดรัดหลอดเลือดที่หลั่งออกมากผิดปรกติ เหตุจากการท� ำงาน ที่ผิดปรกติของเซลล์บุผิวในหลอดเลือดจุลภาคไต ตามความเป็นจริงที่ปรากฏ ยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ไม่ได้ใช้ในผู้ป่วยทุกราย แต่จะใช้เฉพาะผู้ป่วยบางส่วนที่มีความดันเลือดสูงเท่านั้น นอกจากนี้ การรักษา ก็เจาะจงเฉพาะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ไตเสื่อมมากแล้วเท่านั้น การใช้ยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดในผู้ป่วย ดังกล่าวไม่สามารถท� ำให้หลอดเลือดจุลภาคไตขยายตัวตอบสนองต่อยาได้ เนื่องจากการศึกษาภาวะธ� ำรงดุล ของหลอดเลือด (vascular homeostasis) (Futrakul and Futrakul, 2011) พบว่า หลอดเลือดจุลภาคไต ที่เสื่อมมากนี้ไม่สามารถสร้างสารไนทริกออกไซด์ได้มากพอที่จะตอบสนองต่อยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ที่ใช้ เหตุเพราะขาดสารสร้างหลอดเลือด (angiogenic factors) หลอดเลือดจุลภาคไตไม่สามารถคลายตัว จากการหดรัดได้ ภาวะไตขาดเลือดเรื้อรังจึงไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ โรคหลอดเลือดจุลภาคไตมีการ สะสมสารต้านการซ่อมแซมหลอดเลือด (antiangiogenic factors) ท� ำให้โรคหลอดเลือดจุลภาคไตเพิ่ม ความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท� ำให้ภาวะไตขาดเลือดเรื้อรังขยายความรุนแรงมากขึ้น จนท้ายสุดไตขาดเลือด อย่างวิกฤติและเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังขั้นสุดท้าย ๔. การพัฒนาการรักษาป้องกันโรคไตเรื้อรังแบบยั่งยืน : นวัตกรรมการฟื้นฟูไต อิงแนวทฤษฎีการพึ่งพาตนเอง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช การรักษาป้องกันโรคไตเรื้อรังแนวใหม่คือการมุ่งเป้ามาสนใจผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ไตเสื่อมระยะแรก ๆ ที่มีอยู่เป็นจ� ำนวนมากที่แฝงอยู่ในกลุ่มคนปรกติ ไม่สามารถคัดกรองได้โดยดัชนีคัดกรองที่ใช้อยู่ทั่วไป แต่สามารถตรวจจับได้โดยดัชนีคัดกรองใหม่ เช่น อัตรากรองสารไต, fractional excretion of magnesium (FE Mg), หรือการวัดปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงไตรวม (renal plasma flow) หรือปริมาณเลือดเลี้ยงส่วนเนื้อไต หรือเซลล์บุท่อไต (peritubular capillary flow) จากการศึกษามีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า โรคไตเรื้อรัง ที่ไตเสื่อมระยะแรกมีอัตรากรองสารไตต�่ ำกว่าปรกติ, ค่า FE Mg สูงกว่าปรกติ ซึ่งชี้บ่งว่ามีการท� ำลายตัวเนื้อไต เกิดขึ้นแล้ว และมีการลดลงของปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงไตซึ่งแสดงถึงภาวะไตขาดเลือด (ตารางที่ ๒) ดัชนีใหม่ ดังกล่าวนี้ช่วยให้การคัดกรองโรคไตเรื้อรังที่ไตเสื่อมระยะแรกสามารถกระท� ำได้ เป็นผลดีที่ช่วยสนับสนุน การรักษาป้องกันโรคไตสามารถกระท� ำได้แต่เนิ่น ๆ การรักษาป้องกันโรคไตเรื้อรังในระยะดังกล่าวนี้ เป็นระยะ ที่เหมาะสม เพราะการศึกษาภาวะธ� ำรงดุลของหลอดเลือดพบว่า กลไกการสร้างสารไนทริกออกไซด์ยังดีอยู่ สามารถตอบสนองต่อการใช้ยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ท� ำให้หลอดเลือดจุลภาคไตขยายตัว ปริมาณเลือด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=