สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมชาย วงศ์วิเศษ และ ศักรินทร์ ชินกุลพิทักษ์ 39 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ส่วนอุปสรรคในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานลมในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ - พื้นที่ที่มีศักยภาพพลังงานลมสูงมักจะอยู่ในเขตภูเขาหรือป่าสงวน ท� ำให้หน่วยงานเอกชน ที่มีความสนใจลงทุนพลังงานลมแบบทุ่งกังหันลม (มากกว่า ๑,๔๐๐ เมกะวัตต์) ติดปัญหาเรื่องการขออนุญาต ใช้พื้นที่จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง - ปัญหาต้นทุนการผลิตและการติดตั้งกังหันลม หรือความเหมาะสมของพื้นที่ ก็คือ จ� ำเป็นต้องมีระบบ จ� ำหน่ายไฟฟ้าแรงสูงระดับ ๒๒ ๓๓ หรือ ๑๑๕ กิโลโวลต์ ผ่านหรืออยู่ในรัศมี ๑๐ กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อ ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค - ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม มีตัวอย่างคือ การท� ำลายทัศนียภาพแสงและเงา รวมถึงมลภาวะทางเสียง และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณพื้นที่ท� ำการติดตั้ง ๔. สรุป ประเทศไทยมีแหล่งศักยภาพพลังงานลมที่ดีในบริเวณชายฝั่งทะเลทางด้านอ่าวไทย และในบริเวณที่สูง มีความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ ๖.๔ เมตรต่อวินาที ที่ระดับความสูง ๕๐ เมตร นอกจากนี้ยังพบว่า มีแหล่งศักยภาพพลังงานลมที่ดีอีกส่วนหนึ่งอยู่บริเวณเทือกเขาด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่าง จนถึงภาคใต้ตอนบน ส่วนแหล่งที่มีศักยภาพรองลงมา ซึ่งมีความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ ๔.๔ เมตร ต่อวินาที ขึ้นไป ที่ความสูง ๕๐ เมตร พบว่าอยู่ที่ภาคใต้ตอนบนบริเวณอ่าวไทยชายฝั่งตะวันตกและบริเวณ เทือกเขาในภาคเหนือ รวมทั้งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและในอ่าวไทยชายฝั่งตะวันออก การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทยมีแนวโน้มการลงทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐ และเอกชน คือใน พ.ศ. ๒๕๕๖ ประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ประมาณ ๑๙๓ เมกะวัตต์ ในอนาคตประเทศไทยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานลมในการผลิตไฟฟ้าให้มีก� ำลังการผลิตรวม ๑,๒๐๐ เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๓ ของสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนทั้งหมดของประเทศ ภายใน พ.ศ. ๒๕๖๔ เอกสารอ้างอิง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. “แผนที่แสดงที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย”. เข้าถึงได้จาก : http://www.dede.go.th/dede/images/stories/file/filemap_re/2556/wind13.png (สืบค้น เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗). กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน. “แผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย”. รายงานฉบับสมบูรณ์ ๒๕๕๔. กระทรวงพลังงาน. ๒๕๔๙. “ทิศทางพลังงานไทย”. ส� ำนักประชาสัมพันธ์. หน้า ๒๑๔-๒๓๑.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=