สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมชาย วงศ์วิเศษ และ ศักรินทร์ ชินกุลพิทักษ์ 37 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ของการใช้พลังงานของเกาะเต่าทั้งเกาะ (ไพรัช กิจวรวุธ และ หรรษา วัฒนานุกิจ, http://gis.eng.ku.ac.th/ Research/paper_wind%20energy.pdf) ส� ำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เฟิร์ส โคราช วินด์ และ K.R. สอง ที่ต� ำบลห้วยบง อ� ำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ถูกจัดตั้งขึ้นโดย Wind Energy Holding Co., Ltd. ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ และ ๒๕๕๖ ตามล� ำดับ โครงการเหล่านี้เป็นฟาร์มกังหันลมแห่งแรกของประเทศไทย และมีก� ำลังผลิตที่สูง ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก� ำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น ๑๘๐ เมกะวัตต์ (Wind Energy Holding Co., LTD. 2557; http://www.windenergyholding.co.th ) โรงไฟฟ้าพลังงานลม เทพพนา วินด์ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ ต� ำบลวะตะแบก อ� ำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สามารถผลิตก� ำลังไฟฟ้าจากพลังงานลม ๖.๘๐ เมกะวัตต์ ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยใช้กังหันลมที่มีก� ำลังการผลิต ๒.๕๐ เมกะวัตต์ (กลุ่มธุรกิจไฟฟ้า, ๒๕๕๗; http://www. egco.com/th/corperate_profile_busin_group_teppana_wind.asp) ส� ำหรับมาตรการการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ส� ำหรับการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนั้น ส� ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ก� ำหนดมาตรการ ส่งเสริมโดยให้มีส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (ADDER) จากพลังงานหมุนเวียนประเภทต่าง ๆ พลังงานลม มีส่วนเพิ่มราคาประมาณ ๒.๕๐-๓.๕๐ บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ส� ำหรับในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) จะได้รับค่าการรับซื้อส่วนเพิ่มสูงเป็นพิเศษประมาณ ๕.๐๐ บาท ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง การสนับสนุนราคาส่วนเพิ่มจะมีระยะเวลา ๑๐ ปีนับจากวันที่ได้จ่ายไฟเข้าระบบตามสัญญา ซื้อขายไฟฟ้า (ทรงกฤษณ์ ประภักดี : ๔๒-๔๘; กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, ๒๕๕๗; http:// www.eppo.go.th/encon/plan-2551-2554/encon-2551-2554.pdf; Ruangrong et al., 2014; http: / /electricitygovernance.wri.org/files/egi/Thailand.pdf ) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในระยะยาว ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๔) หรือ Alternative Energy Development Plan: AEDP (2012-2021) โดยกระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายเพิ่ม สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ ๒๕ ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศใน พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเป็นการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมให้มีก� ำลังผลิตไฟฟ้ารวม ๑,๒๐๐ เมกะวัตต์ (กระทรวง พลังงาน, ๒๕๕๗; http://km.eppo.go.th/resources/uploaded/9/2013071513739053129574.pdf) ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้โดยประมาณ ๑๙๓ เมกะวัตต์ (กรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, ๒๕๕๗; http://www.dede.go.th/dede/images/ stories/file/filemap_re/2556/wind13.png)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=