สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมชาย วงศ์วิเศษ และ ศักรินทร์ ชินกุลพิทักษ์ 35 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ตารางที่ ๑ แหล่งศักยภาพพลังงานลมที่ดีในประเทศไทย (กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน, ๒๕๕๔) พื้นที่ จังหวัด ระดับ กำ �ลังลม ที่ระดับความสูง ๕๐ เมตร ความเร็วลม (m/s) กำ �ลังลม (W/m 2 ) ๑. อ.หัวไทร นครศรีธรรมราช ๓ ๖.๔๐-๗.๐๐ ๓๐๐-๔๐๐ ๒. แหลมตาชี ปัตตานี ๔ ๗.๐๐-๗.๕๐ ๔๐๐-๕๐๐ ๓. อ.ระโนด สงขลา ๔ ๗.๐๐-๗.๕๐ ๔๐๐-๕๐๐ ๔. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ๔ ๗.๐๐-๗.๕๐ ๔๐๐-๕๐๐ ๕. อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง สุราษฎร์ธานี ๔-๕ ๗.๐๐-๗.๕๐ ๔๐๐-๖๐๐ ๖. ทะเลสาบสงขลา สงขลา ๕-๖ ๗.๕๐-๘.๐๐ ๕๐๐-๗๐๐ ๗. อุทยานแห่งชาติวังเจ้า ตาก ๖ ๘.๐๐-๘.๘๐ ๖๐๐-๘๐๐ ๘. เขาพนมเบญจา กระบี่ ๖ ๘.๐๐-๘.๘๐ ๖๐๐-๘๐๐ ๙. อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น นครศรีธรรมราช ๖-๗ ๘.๐๐-๑๑.๙๐ ๖๐๐-๒,๐๐๐ ๑๐. อุทยานแห่งชาติเขาหลวง นครศรีธรรมราช ๖-๗ ๘.๐๐-๑๑.๙๐ ๖๐๐-๒,๐๐๐ ๑๑. อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า พัทลุง ๖-๗ ๘.๐๐-๑๑.๙๐ ๖๐๐-๒,๐๐๐ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๕๑ จอมภพ แววศักดิ์ และคณะ (จอมภพ แววศักดิ์ และคณะ, ๒๕๕๒ : ๕๑-๖๐) ได้ก่อตั้งสถานีวัดลมขึ้นใน ๖ จังหวัดตามแนวชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล จากการวิเคราะห์ทางด้าน เศรษฐศาสตร์ส� ำหรับกังหันลมขนาดเล็กมาก ๑.๐, ๑.๕ และ ๒.๐ เมกะวัตต์ พบว่า ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า แบบฟาร์มกังหันลม โดยที่ในระยะยาวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ ๑,๐๑๘ ๑,๐๓๘ และ ๑,๑๔๘ เมกะวัตต์ ตามล� ำดับ จากผลการส� ำรวจแหล่งพลังงานลมโดย ณัฐวุฒิ ดุษฎี และคณะ (ณัฐวุฒิ ดุษฎี และคณะ, ๒๕๕๒ : ๖๑-๗๐) ที่สถานีร่มโพธิ์ไทย บ้านผาตั้ง บ้านนอแล หนองหอย ดอยม่อนล้าน และกิ่วลม พบว่า ศักยภาพ พลังงานลมของพื้นที่บริเวณทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยท� ำให้สามารถติดตั้งฟาร์มกังหันลมได้ ๖๘ เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ผลจากการส� ำรวจพื้นที่จริงพบว่า มีพื้นที่ที่เหมาะสม (บริเวณสถานีกิ่วลม ดอยม่อนล้าน และแม่แฮ) พร้อมส� ำหรับติดตั้งฟาร์มกังหันลม โดยใช้กังหันลมขนาด ๑ และ ๓ เมกะวัตต์ หรือมีก� ำลังการผลิต รวม ๙ และ ๒๗ เมกะวัตต์ ตามล� ำดับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=