สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมของประเทศไทย 34 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ๑. บทน� ำ ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา พลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส� ำคัญอย่างหนึ่งที่มีความจ� ำเป็นต่อ การด� ำรงชีวิตอย่างมาก และเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เช่น การขนส่ง และการเดินทาง สิ่งอ� ำนวยความสะดวกต่าง ๆ การติดต่อสื่อสาร รวมถึงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ การจัดหาพลังงานให้มีปริมาณที่เพียงพอ มีคุณภาพที่ดี และมีราคาที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งส� ำคัญ หลายประเทศทั่วโลกจึงสนับสนุนการใช้งานพลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และในขณะเดียวกันก็เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้พัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เช่น พลังงานลม พลังงานน�้ ำ พลังงานแสงอาทิตย์ งานในบทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลและเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้พลังงานลมเพื่อการผลิต ไฟฟ้า ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง อุปสรรคในการติดตั้งกังหันลม และนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานลมในระยะยาว ๒. ศักยภาพของพลังงานลมในประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต�่ ำถึงปานกลาง (โดยเฉลี่ย ๓-๕ เมตร/วินาที) ประเทศไทยได้ศึกษาศักยภาพพลังงานลมของประเทศตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน (ส� ำนักงานพลังงานแห่งชาติ) จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๔ (กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน, ๒๕๕๔) ต่อมาได้มีการใช้เทคนิคที่พัฒนามากขึ้น และใช้ข้อมูลลมที่ระยะสูงขึ้นรวมในการวิเคราะห์ด้วย หลักเกณฑ์ ในการคัดเลือกแหล่งพลังงานที่เหมาะสมคือ พื้นที่นั้นควรมีระดับความเร็วลมหรือก� ำลังลมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ระดับ ๓ คือ ๖.๔-๗.๐ เมตรต่อวินาที หรือ ๓๐๐-๔๐๐ กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร ที่ความสูง ๕๐ เมตร จากการศึกษาข้อมูลที่ได้พบว่า ประเทศไทยมีแหล่งศักยภาพพลังงานลมที่ดีบริเวณชายฝั่งทะเลทางด้านอ่าวไทย ส่วนแหล่งที่มีศักยภาพรองลงมาอยู่ที่ภาคใต้ตอนบนบริเวณอ่าวไทยชายฝั่งตะวันตก ซึ่งมีความเร็วลมเฉลี่ย ทั้งปี ประมาณ ๔.๔ เมตรต่อวินาที ขึ้นไป ที่ความสูง ๕๐ เมตร ดังที่สรุปไว้ในตารางที่ ๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=