สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมชาย วงศ์วิเศษ และ ปริญญา พงษ์สรอย 29 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยังต้องพิจารณาผลการวิจัยจาก การส� ำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผลการวิจัยดังกล่าวถูกใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการพิจารณา การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การส� ำรวจโดยสุ่มจ� ำนวนประชาชน ๓,๘๐๗ คน ที่มีอายุ ๑๘ ถึง ๖๐ ปี ตามต่างจังหวัดรวมถึงกรุงเทพฯ โดยส� ำนักวิจัยเอแบคโพลล์ (ABAC Poll) แสดงให้เห็นว่า ประชาชน ร้อยละ ๘๓.๔ ไม่เห็นด้วยกับแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย และมีเพียงร้อยละ ๑๖.๖ ให้การสนับสนุนโครงการนี้ (The Nation/Asia News Network, 2014, http://news.asiaone.com/ News/Latest%2BNews/Asia/Story/A1Story20110327-270371.html) จากผลการส� ำรวจนี้สามารถ สรุปได้ว่า ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะมีมากเพียงใดก็ตาม ประชาชนก็ยังกังวลเรื่องความปลอดภัย และความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เกิดอุบัติเหตุ เช่น การปลดปล่อยสาร กัมมันตรังสีขณะเดินเครื่อง และการจัดการกากกัมมันตรังสีที่ใช้งานแล้ว ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่ม ความเชื่อมั่นในประเด็นนี้ โดยโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและวิศวกร ที่มีความรู้ความสามารถพอแก่การควบคุมและดูแลการท� ำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ประชาชน จึงมีความมั่นใจกับการมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก จะท� ำ หน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติและการควบคุมดูแล การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในรูปแบบของ Nuclear Safety, Nuclear Security และ Nuclear Safeguard ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจเรื่องวิถีชีวิตของสาธารณชน และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้น ๓. วิจารณ์และข้อเสนอแนะ จากค� ำวิจารณ์และข้อถกเถียงของหลายฝ่ายเกี่ยวกับการมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จ� ำเป็นต้องมีความรอบคอบ ในการส� ำรวจและศึกษาที่ตั้ง การตรวจสอบด้านธรณีวิทยา และการจัดหาแหล่งน�้ ำส� ำหรับโครงการโรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ซึ่งจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง ชาวบ้านที่คัดค้านได้ ดังนั้น จึงต้องท� ำประชาพิจารณ์ เพื่อหาข้อดีและข้อเสียเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ทุกคน ยิ่งไปกว่านั้น การเปรียบเทียบประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์กับโรงไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีข้อดี เช่น ต้นทุนของเชื้อเพลิงที่ถูกกว่า เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า ที่มีเสถียรภาพและมั่นคง การก่อก� ำเนิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต�่ ำ และความสามารถในการเดินเครื่อง ได้โดยไม่ต้องปิดเครื่องนานนับปี เหตุผลเหล่านี้จะช่วยให้ประชาชนในประเทศให้ความส� ำคัญแก่โครงการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=