สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมชาย วงศ์วิเศษ และ ปริญญา พงษ์สรอย 25 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ๒. สถานะและแนวโน้มโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย พลังงานอยู่คู่กับวิถีชีวิตของมนุษย์ตลอดมา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกน� ำมาใช้เพื่ออ� ำนวยความสะดวก ให้แก่มนุษย์และมีแนวโน้มของการพัฒนาที่สูงขึ้นตลอดเวลา เหตุการณ์นี้จึงส่งผลต่อการใช้พลังงานที่สูงขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศไทยต้องพึ่งพาการน� ำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้น การพัฒนา พลังงานทดแทนอย่างจริงจังจะช่วยลดการน� ำเข้าเชื้อเพลิงเหล่านั้นได้ แหล่งพลังงานที่นักวิทยาศาสตร์หรือ นักวิชาการพิจารณาเพื่อน� ำเข้ามาเป็นพลังงานทดแทน ส� ำหรับน�้ ำมัน ถ่านหิน และแก๊สธรรมชาติ ก็คือ พลังงานนิวเคลียร์ในรูปของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๙) (ส� ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๒๕๕๗, http:// www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=89) ได้ระบุแผนพัฒนาพลังงาน ดังนี้ การพิจารณาและศึกษา ความเหมาะสมในการน� ำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าทั้งทางเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี ความปลอดภัย และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยเหตุนี้ ความจ� ำเป็น ๒ ประการ จึงถูกพิจารณาส� ำหรับการน� ำโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในประเทศไทย คือ ประการแรก ประเทศไทยจะเริ่มขาดแคลนแหล่งเชื้อเพลิงทั้งแก๊สธรรมชาติและถ่านหิน ซึ่งไม่พอ แก่การป้อนให้แก่โรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใหม่ ดังนั้น ประเทศไทยต้องหันไปพึ่งพาการน� ำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ส่งผลให้เสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าของประเทศผูกติดกับการน� ำเข้าแก๊สธรรมชาติและถ่านหินมากขึ้น ประการที่สอง ประเทศไทยปล่อยให้มีการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อการปล่อยแก๊ส มลพิษออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก คือ CO 2 SO X และ NO X การท� ำลายสิ่งแวดล้อม การเกิดฝนกรด และการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก อย่างไรก็ตาม การใช้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะไม่มีแก๊สต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้น แต่โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะมีเพียงกากเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วซึ่งสามารถจัดเก็บได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ พลังงานนิวเคลียร์จึงถูกเลือกให้เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ก� ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น โดยเฉพาะแก๊สธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลัก ที่ต้องน� ำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านส� ำหรับการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย และเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ไฟฟ้าจากความจ� ำเป็นและเหตุผลที่กล่าวมา การขออนุญาตด� ำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การเลือก สถานที่ตั้ง การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การเตรียมตัวในเรื่องของบุคลากร หรือแม้กระทั่ง การจัดการกากกัมมันตรังสีเพื่อป้องกันการรั่วไหลของกัมมันตรังสี จึงต้องใช้เวลาด� ำเนินการเป็นเวลานาน มากกว่า ๑๐ ปี และจะสามารถก่อสร้างเสร็จแล้วเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าให้ทันความต้องการได้ ดังนั้น ประเทศไทย ควรท� ำตามแผนของโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ตั้งไว้ให้ได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=