สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมชาย วงศ์วิเศษ และ ปริญญา พงษ์สรอย 23 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ด้านพลังงานในมุมมองของนานาประเทศ อย่างไรก็ตาม ประชาชนในประเทศไทยยังมีความวิตกกังวล กับผลกระทบหรือข้อเสียของการมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การเพิ่มความรู้ความเข้าใจถึง ความจ� ำเป็นของการมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จึงเป็นเรื่องส� ำคัญและเร่งด่วน ค� ำส� ำคัญ : พลังงานนิวเคลียร์, โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์, ประเทศไทย ๑. บทน� ำ จากเหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ นานาประเทศมีความตระหนักถึงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ มากขึ้น กอปรกับการน� ำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ในทางสันติเพื่อการแก้ปัญหาสถานการณ์การใช้พลังงาน ของโลกที่สูงขึ้นตามจ� ำนวนประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่าง ๆ รวมถึง ประเทศไทย ได้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อความคาดหวังว่าจะน� ำพลังงาน ชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรการลดภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๔ นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาท� ำการศึกษาและวิจัยการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ เพื่อประยุกต์ใช้ในทางสันติ การทดลองเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ส� ำหรับผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรกมีขึ้นที่ Idaho Engineering Laboratory สหรัฐอเมริกา (ส� ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, ๒๕๕๒ : ๑๐๙) นานาประเทศต่างให้ความสนใจการพัฒนา ค้นคว้า และวิจัย เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติมากขึ้นเป็นล� ำดับซึ่งรวมถึงประเทศไทย ปัจจุบัน ในการท� ำแผนการน� ำโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เข้ามาพิจารณาเป็นพลังงานทางเลือกของประเทศไทย กระทรวงพลังงานของประเทศไทย ได้จัดท� ำและปรับปรุงแผนพัฒนาก� ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย โดย คณะท� ำงานที่มีความรู้ความสามารถ ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบ แผนพัฒนาก� ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๗๓ (กระทรวงพลังงาน, ๒๕๕๓) ซึ่งมีแผน ยุทธศาสตร์ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนโดยการเพิ่มก� ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศและ ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากภาคการผลิตไฟฟ้าตามมาตรการลดภาวะโลกร้อน ยิ่งไปกว่านั้น การปรับ แผนยุทธศาสตร์ด้านก� ำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศให้มีความมั่นคงในด้านพลังงานส� ำรอง พลังงานถือเป็น ปัจจัยที่เกื้อหนุนการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าทันกับนานาประเทศ อีกทั้งประโยชน์ของพลังงาน จะช่วยผลักดันการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม เศรษฐกิจ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ช่วยหล่อเลี้ยง คนในประเทศได้อย่างเพียงพอ ดังนั้น พลังงานต้องมีราคาถูกและเพียงพอกับความต้องการ ประเทศไทยควรมีแผนการรองรับการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นตามกาลเวลาส� ำหรับการพัฒนาประเทศ ไม่ต�่ ำกว่าร้อยละ ๑๕ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาก� ำลังการผลิตจากแผนพัฒนาก� ำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๗๓ (PDP 2010) ซึ่งต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=