สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
โรงไฟฟ้าพลังน�้ ำในประเทศไทย 18 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 และคณะ (Rojanamon et al., 2009: 2336–2348) ศึกษาศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน�้ ำ ในลุ่มน�้ ำน่านโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ [Geographic Information Systems (GIS)] พบว่า โครงการที่ดีที่สุด ๒๐ โครงการที่สามารถใช้พัฒนาให้เป็นโรงไฟฟ้าพลังน�้ ำขนาดเล็กมีก� ำลังผลิตติดตั้ง รวมทั้งสิ้นประมาณ ๖๕ เมกะวัตต์ ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน�้ ำของลุ่มน�้ ำมูลที่ศึกษาโดย หนึ่ง เตียอ� ำรุง และคณะ (หนึ่ง เตียอ� ำรุง และคณะ, ๒๕๕๒ : ๑๘-๒๗) พบว่า ลุ่มน�้ ำมูลมีศักยภาพของก� ำลัง การผลิตติดตั้งประมาณ ๑๖ เมกะวัตต์และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ ๑๓ กิกะวัตต์-ชั่วโมง ๔. นโยบายด้านพลังงานน�้ ำของประเทศไทย ในปัจจุบันกระทรวงพลังงานได้จัดท� ำแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกร้อยละ ๒๕ ใน ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๔) หรือ Alternative Energy Development Plan: AEDP (2012-2021) ขึ้นโดยจุดมุ่งหมายคือการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อไปทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ ภายใน ๑๐ ปี ซึ่งจะท� ำให้จ� ำนวนโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลบางส่วน ถูกทดแทนด้วยโรงไฟฟ้าประเภทพลังงานหมุนเวียน โดยคาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. ๒๕๖๔ ประเทศไทยจะต้อง มีก� ำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นจากเดิมทั้งสิ้น ๙,๒๐๑ เมกะวัตต์ โดยมีก� ำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน�้ ำเพิ่มขึ้นจากเดิม ๑,๖๐๘ เมกะวัตต์ ในปลาย พ.ศ. ๒๕๕๗ ด� ำเนินการ แล้วเสร็จ ๑๐๘.๘ เมกะวัตต์ (Department of Alternative Energy Development and Efficiency, 2013, http://www.dede.go.th/dede/images/stories/stat_dede/factsFigures_2013/fact2013_ edit.pdf) นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้มีนโยบายสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการน� ำพลังงานทางเลือก มาใช้ประโยชน์ด้วยการก� ำหนดนโยบายให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าแก่โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนใน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยก� ำหนดให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน�้ ำขนาด ๕๐-๒๐๐ กิโลวัตต์ เท่ากับ ๐.๘๐ บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และ ๑.๕๐ บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ส� ำหรับไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน�้ ำ ขนาดต�่ ำกว่า ๕๐ กิโลวัตต์ หากเป็นโครงการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และ ๔ อ� ำเภอในจังหวัดสงขลา (จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี) ให้อัตราเพิ่มพิเศษอีก ๑ บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา ๗ ปี ๕ . บทสรุป ใน พ.ศ. ๒๕๕๗ ประเทศไทยมีก� ำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังน�้ ำรวมทั้งสิ้นประมาณ ๓,๔๙๗ เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ ๑๑ ของก� ำลังการผลิตทั้งระบบ ในขณะที่ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานน�้ ำ ถึง ๑๕,๑๕๕ เมกะวัตต์ ยิ่งไปกว่านั้น ลุ่มน�้ ำหลัก ๒๕ แห่งของประเทศมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=