สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นวัตกรรมการผลิตพืชเศรษฐกิจจะช่วยลดภาวะโลกร้อน : โมเดลจากอ้อย 196 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 สรุป นวัตกรรมที่กล่าวถึงในบทความนี้สามารถใช้ได้กับการพัฒนาเพิ่มผลผลิตอ้อยต่อไร่ของทุกภาค ในประเทศ เพราะมีสภาพภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกันทั้งประเทศ ถ้าท� ำได้ก็จะมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ อย่างยิ่ง เพราะการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นพืชอาหารหรือพืชพลังงาน ถ้าได้ผลผลิต รวมเท่าเดิมแต่ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ก็จะมีพื้นที่เหลือไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ปลูกป่า โดยเฉพาะ ในพื้นที่ต้นน�้ ำ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้วยังช่วยอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน�้ ำและความหลากหลาย ทางชีวภาพให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง พื้นที่ปลูกอ้อยทั่วโลกมีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกันหมดเพราะ อ้อยเป็นพืชเขตร้อน โมเดลนี้จะมีประโยชน์ยิ่งขึ้นถ้าขยายผลน� ำไปใช้ในประเทศที่ปลูกอ้อยในทวีปอื่น เช่น บราซิลในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง หากจะถูกท� ำลายไปเพราะการเกษตรที่ไม่มี ประสิทธิภาพก็จะเป็นการสูญเสียส� ำหรับมนุษยชาติ ถ้าประเทศไทยเป็นผู้น� ำในเรื่องนี้ ก็จะเป็นการสร้าง ศรัทธาความน่าเชื่อถือให้แก่ประเทศไทยในประชาคมโลก น่าที่จะสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา รายละเอียดที่ไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้คือวิธีการปลูกตามปรกติ จึงไม่ได้กล่าวถึงเพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์ และสามารถหาข้อมูลนี้ได้ทั่วไป มิฉะนั้นจะท� ำให้บทความนี้ยาวเกินไป บรรณานุกรม ธวัช หะหมาน และคณะ. ๒๕๕๖. เรื่องราวว่าด้วยพันธุ์อ้อย ส� ำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน�้ ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม. วงจันทร์ วงศ์แก้ว. ๒๕๓๕. สรีรวิทยาพืช, โรงพิมพ์ฟันนี่พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. เอกสารเผยแพร่ของ สอน. เรื่องการปรับปรุงโครงสร้างดินให้เหมาะสมกับการปลูกอ้อย. Gujja, B. and U.S. Natarajan. 2013. Sustainable sugarcane initiative-improving yields and reducing ecological footprint. Agriculturesnetwork.or. Taiz, L. and Zeiger. E. 2555. Plant Physiology, 5th ed. Sinauer and Associates, Inc.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=