สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วงจันทร์ วงศ์แก้ว 195 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ตนเอง โดยอาศัยหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชื้นและปริมาณฝนในธรรมชาติของ พื้นที่แต่ละแห่ง ฤดูกาลแต่ละฤดู ซึ่งยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าเพราะสภาพภูมิอากาศแปรปรวนไปจากเดิม มาก เกษตรกรไทยจะต้องฝึกตนเองให้เปิดโลกทัศน์และทดลองสิ่งที่เหมาะสมกับตนเองมากกว่ารอคอย สูตรส� ำเร็จจากที่อื่น เกษตรกรควรจะเพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และลดการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิตและ ลดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ปุ๋ยอินทรีย์ยังช่วยปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของราก ท� ำให้ดินมีความชื้นและอากาศมากขึ้น มีสิ่งมีชีวิตที่ช่วยปรับปรุงดินมากขึ้น เช่น ไส้เดือนดิน จุลินทรีย์ที่มี ประโยชน์มีมากขึ้นดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้ว การเพิ่มอินทรียวัตถุในดินจะเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยส� ำคัญมากเป็นที่สองรองจากน�้ ำ การเพิ่มอินทรียวัตถุมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสภาพดินและสภาพ ที่มีอยู่ ๕. นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการควบคุมโรคและแมลงศัตรูอ้อย เกษตรกรไทยยุคใหม่ควรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพแทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย แก่สุขภาพอนามัยของตนเอง ของคนงาน และของผู้บริโภค ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องเสียเงินและทรัพยากร ไปในการดูแลสุขภาพ ก็จะมีก� ำลังซื้อสินค้าเกษตรน้อยลง เกษตรกรรมตามแบบชีววิถีมีความเป็นไปได้มากขึ้น น�้ ำตาลที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มีราคาดีกว่าการผลิตทั่วไป โรงงานผลิตขนมหวานมีแนวคิดที่จะผลิตขนมหวาน และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แบบอินทรีย์ ติดขัดอยู่ที่ว่าไม่มีผู้ผลิตวัตถุดิบมากพอที่จะมั่นใจในความมั่นคงของ วัตถุดิบที่จะป้อนโรงงานของเขา จึงเป็นนวัตกรรมที่ท้าทายเกษตรกรไทยให้ทดลองวิจัยใช้ในไร่ของตนเอง นับเป็นเวลากว่า ๒๐ ปีแล้วที่เทคโนโลยีอีเอ็ม (EM, Effective Microorganism) แพร่หลายในประเทศไทย และเกษตรกรไทยได้พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้การหมักพืชและสมุนไพรต่าง ๆ ที่ได้สารที่มีฤทธิ์ในการ ป้องกันและก� ำจัดศัตรูพืชมาใช้ในการเกษตรแทนสารเคมี สารสกัดชีวภาพเหล่านี้บางชนิดก็มีฤทธิ์เร่ง การเจริญเติบโตของพืช ท� ำให้ผลผลิตมีขนาดโตขึ้น เช่น ผลบวบ เกษตรกรชาวไร่อ้อยน่าจะได้น� ำมาทดลอง กับอ้อย ถ้าได้อ้อยหนักล� ำละ ๕ กิโลกรัมขึ้นไปและแตกกอได้ดีประมาณ ๑๐ ล� ำต่อกอ จะสามารถเพิ่ม ผลผลิตในอ้อยตอให้มากเท่าอ้อยปลูกหรือมากกว่า ก็จะเป็นการก้าวกระโดดพ้นความล� ำบากยากจนส� ำหรับ เกษตรกร หากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับราคาจะรักษาความมั่นคงของราคาได้ นักวิชาการในหน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกรเองน่าจะได้ศึกษาเรื่องนี้ในไร่ของตนเองอย่างจริงจังเพราะคุ้มค่ามาก นอกจากเทคโนโลยี การหมักแล้วเกษตรกรควรน� ำตัวห�้ ำตัวเบียนของแมลงศัตรูพืชแต่ไม่ท� ำลายพืชเศรษฐกิจมาขยายพันธุ์ในไร่ เพื่อบูรณาการก� ำจัดโรคและศัตรูพืชโดยชีววิธี จะได้ลดต้นทุนการผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=