สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นวัตกรรมการผลิตพืชเศรษฐกิจจะช่วยลดภาวะโลกร้อน : โมเดลจากอ้อย 194 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 และลดการหายใจจากใบแก่ ท� ำให้ผลผลิตรวมหรือผลผลิตสุทธิเพิ่มขึ้น เกษตรกรบางคนคิดว่าผลผลิตที่ได้ ไม่คุ้มกับค่าแรงงาน เกษตรกรที่คิดเช่นนี้น่าจะทดลองท� ำและเปรียบเทียบดู เพราะถ้าผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น รายได้ของเกษตรกรก็เพิ่มขึ้นตามผลผลิต และแรงงานที่มีรายได้ประจ� ำก็จะอยู่ที่ไร่ น่าจะมีเสถียรภาพด้าน แรงงานด้วย ถ้าสามารถเพิ่มผลผลิตได้หลายเท่า ก็สามารถลดจ� ำนวนไร่ที่ปลูกลงได้ เป็นการประหยัดเวลา ประหยัดพื้นที่ ประหยัดแรงงาน แต่ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น ต้องคุ้มแน่นอน จะทดลองไร่เดียวก่อนก็ได้ ๓. นวัตกรรมด้านเทคนิคการควบคุมวัชพืช นวัตกรรมนี้ใช้เทคนิคปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินเมื่ออ้อยยังเล็ก และปล่อยให้เน่าเปื่อยอยู่ใต้ใบแก่ เมื่อมีการสางใบ พืชตระกูลถั่วมีปมรากซึ่งช่วยตรึงไนโตรเจน (nitrogen fixation) โดยที่จุลินทรีย์ที่ปมราก (root nodules) มีเอนไซม์พิเศษที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยนแก๊สไนโตรเจนในอากาศซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ ๗๘ ให้กลายเป็นแอมโมเนียที่เป็นปุ๋ยให้พืชน� ำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ควรเลือกใช้พืชตระกูลถั่วที่ขนาดสูง พอเหมาะ จะได้ไม่บังแสงแก่ต้นอ้อยและสามารถย่อยสลายให้อินทรียวัตถุได้ดี (mulching) ๔. นวัตกรรมด้านเทคนิคการบริหารจัดการน�้ ำและปุ๋ย การปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตมากขึ้นหลายเท่าจากเดิมนั้น เกษตรกรจ� ำเป็นต้องมีแหล่งน�้ ำในไร่ ของตนเอง ถ้าหากระบบชลประทานของรัฐยังมาไม่ถึง ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนเรื่องนี้ อย่างเต็มที่ ไม่ว่าทางใดก็ตาม งบประมาณที่ใช้ก็ไม่มากแต่ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุน ถ้าเกษตรกร แต่ละรายสามารถมีแหล่งน�้ ำของตนเอง และราคาพืชผลมั่นคง เกษตรกรไทยจะพ้นจากความยากจนแน่นอน ประเทศไทยมีฝนตกชุกทั่วประเทศ ท� ำอย่างไรเกษตรกรจึงจะเก็บกักน�้ ำฝนไว้ใช้ได้ในไร่นาและครัวเรือน ของตนเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแนะน� ำมานานมากแล้วให้เกษตรกรใช้พื้นที่ร้อยละ ๓๐ เป็นแหล่งเก็บน�้ ำ ถ้าน้อมน� ำพระราชด� ำรินี้มาใช้อย่างจริงจัง น่าที่จะไม่มีค� ำว่าภัยแล้งส� ำหรับเกษตรกรไทย อีกเลย แนวคิดตามพระราชด� ำรินี้สามารถน� ำไปใช้ทั่วประเทศ เพราะมีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน พืช เศรษฐกิจที่ส� ำคัญก็คล้ายคลึงกัน เกษตรกรไม่ควรกังวลเรื่องผลผลิตไม่พอเลี้ยงครอบครัวเมื่อต้องใช้พื้นที่ไป เป็นแหล่งน�้ ำร้อยละ ๓๐ เพราะเมื่อมีแหล่งน�้ ำจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้หลายเท่า สมมติเดิมมีที่ดิน ๑๐ ไร่ ได้อ้อยไร่ละ ๑๐ ตัน รวม ๑๐๐ ตัน ถ้าใช้เก็บน�้ ำ ๓ ไร่ไว้ให้น�้ ำแก่อ้อย ผลผลิตอ้อยเพิ่ม ๓ เท่า ปลูกอ้อย ๗ ไร่ได้ไร่ละ ๓๐ ตัน จะได้อ้อยรวม ๒๑๐ ตัน ถ้าขยันดูแลอย่างดีได้ ๕๐-๑๐๐ ตันต่อไร่ ก็ได้ ๓๕๐-๗๐๐ ตัน มีรายได้ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ต่อปี จะเห็นว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน เมื่อได้แหล่งน�้ ำแล้ว ควรแสวงหาวิธีการที่ให้น�้ ำแก่อ้อยด้วยระบบที่ประหยัดทั้งน�้ ำและอุปกรณ์ เช่น ระบบน�้ ำหยดหรือสปริงเกิลขนาดเล็ก หลีกเลี่ยงการให้น�้ ำล้นเกินความจ� ำเป็นแก่อ้อยซึ่งจะไปเพิ่มการ เติบโตของวัชพืช ส่วนจะให้บ่อยเพียงใดเกษตรกรจะต้องทดลองหาความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ของ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=