สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วงจันทร์ วงศ์แก้ว 193 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ เหลือทิ้งเลย ในอนาคตอันใกล้นี้น่าจะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตดี ๆ จากนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ ต่อมวลมนุษยชาติโดยมีที่มาจากผลผลิตการสังเคราะห์ด้วยแสงของอ้อย เพราะอ้อยเป็นพืชที่ท� ำการสังเคราะห์ ด้วยแสงได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดหรือเรียกง่าย ๆ ว่าเก่งที่สุด กล่าวคือ ยิ่งอ้อยได้รับแสงมากก็ยิ่งสังเคราะห์ ด้วยแสงได้มากหรือสร้างอาหารได้มากนั่นเอง งบประมาณในการวิจัยและพัฒนาทั้งจากภาครัฐและเอกชน จึงควรทุ่มเทไปในการสร้างสารมูลค่าเพิ่มให้หลากหลายและมากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะขาดแคลนน�้ ำตาล และไม่ต้องกลัวว่าชาวไร่อ้อยจะต้องไปบุกรุกป่าเพิ่ม เพราะผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้นแน่นอน ดังนั้น การรักษา เสถียรภาพของราคาจะยั่งยืนหากทุ่มงบประมาณไปในการสร้างนวัตกรรม สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่ใช่ความหวาน หรือของหวาน ยิ่งเป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพหรือด้านอุตสาหกรรมก็ยิ่งดี กองทุนอ้อยและน�้ ำตาลและ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) น่าจะให้ความส� ำคัญแก่เรื่องนี้มาก จะแก้ปัญหาความผันผวนเรื่องราคา ได้ดีกว่าโซนนิง เพราะโซนนิงอาจท� ำให้เกิดผลลบทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้ จะเห็นว่าระบบ ๗๐/๓๐ ที่ริเริ่มมาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว จากผลงานเชิงสหวิทยาการของนักวิชาการในสถาบันการศึกษาหลาย สถาบัน หลายสาขาวิชาท� ำงานร่วมกับภาคเอกชน ทั้งด้านโรงงานและตัวแทนชาวไร่ และกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ค้า ท� ำให้ระบบราคามั่นคงและยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ โดยไม่ได้ท� ำโซนนิงเลย ๒. นวัตกรรมการเพิ่มผลผลิตโดยการตัดสางใบแก่ เมื่ออ้อยเติบโตขึ้น จะมีใบจ� ำนวนมาก ซึ่งมีผลดีในการควบคุมวัชพืชไม่ให้เจริญเติบโตเพราะ ได้รับแสงไม่เพียงพอแก่การสังเคราะห์ด้วยแสง แต่เป็นผลเสียแก่ผลผลิตรวมของพืช ไม่คุ้มกับการที่จะเก็บ เอาไว้เพราะหากเกษตรกรตัดสางใบออกแล้วใช้ใบที่สางออกคลุมดิน จะได้ประโยชน์ ๒ ทาง คือ ท� ำให้ วัชพืชตายเพราะขาดแสง จึงไม่มาแย่งปุ๋ยและน�้ ำจากอ้อย และลดภาระเลี้ยงดูใบแก่ที่แย่งอาหาร น�้ ำ และ ธาตุอาหารจ� ำเป็นจากล� ำต้น ซึ่งเป็นภาระที่หนักกว่าวัชพืชเสียอีก แต่ใบเหล่านี้ไม่ควรเผาทิ้ง เพราะใบอ้อย ยังมีสารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงที่น� ำมาสร้างเนื้อเยื่อ เส้นใย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันอยู่ในเนื้อเยื่อ รวมทั้งธาตุอาหารที่จ� ำเป็นอีกมากมายหลายชนิด ควรที่จะวางไว้บนดินบริเวณเดิม เพื่อจะได้ย่อยสลายให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ดินต่อไป เรียกว่า มัลชิง (mulching) ดินก็จะมีอินทรียวัตถุ เพิ่มขึ้นและธาตุอาหารที่จ� ำเป็นจะกลับคืนสู่ดินเพื่อการเจริญเติบโตของอ้อยซึ่งเป็นพืชที่จะแตกกอหลังตัดล� ำ ส่งโรงงานแล้ว ท� ำให้ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี อินทรียวัตถุในดินที่เพิ่มขึ้นยังท� ำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ช่วยให้อากาศในดินมีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ท� ำให้รากพืชดูดซึมน�้ ำและธาตุอาหาร ที่จ� ำเป็นแก่การเจริญเติบโตของล� ำต้นได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ดินที่มีโครงสร้างร่วนซุยยังช่วยให้มีไส้เดือนดิน มาอาศัยอยู่ ซึ่งไม่มีอันตรายแก่พืช แต่มูลไส้เดือนดินมีส่วนช่วยบ� ำรุงดิน การตัดสางใบแก่นอกจากจะลด ภาระในการแย่งอาหารกับล� ำต้นแล้ว ยังช่วยให้ใบที่ยังไม่แก่ได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่ เพิ่มการสังเคราะห์ด้วยแสง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=