สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นวัตกรรมการผลิตพืชเศรษฐกิจจะช่วยลดภาวะโลกร้อน : โมเดลจากอ้อย 192 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 เดียวกัน เพราะการหีบน�้ ำตาลช้าหลังการเก็บเกี่ยวจะท� ำให้ความหวานลดลงเนื่องจากเอนไซม์ในพืชเปลี่ยน น�้ ำตาลเป็นสารอื่น แนวคิดใหม่เริ่มตั้งแต่การปลูก โดยควั่นหรือเฉาะข้ออ้อยที่มีตาอ้อยจากล� ำต้นอ้อยที่แข็งแรง และ ปมรากติดมาด้วยจากอ้อยพันธุ์ที่คัดเลือกแล้ว น� ำไปเพาะในกระบะที่มีวัสดุที่เหมาะกับการเพาะกล้าไม้ แกลบเผาเป็นวัสดุที่เหมาะแก่การเพาะตาอ้อยเป็นอย่างดี เกษตรกรสามารถทดลองใช้วัสดุเพาะที่หาง่ายและ มีราคาถูกในท้องที่ ยิ่งเป็นวัสดุที่เกษตรกรมีอยู่ในพื้นที่ของตนเองก็ยิ่งดี เพราะนวัตกรรมใด ๆ ที่จะน� ำมาใช้ ในการผลิตพืชผลทางการเกษตรจะต้องเป็นนวัตกรรมที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย ไม่เพียงเพิ่มผลผลิต ต่อไร่เท่านั้น จึงจะเป็นนวัตกรรมที่ยั่งยืน (sustainable) และช่วยเกษตรกรได้อย่างแท้จริง การคัดเลือก พันธุ์มีหลักการส� ำคัญคือ เลือกพันธุ์ที่ไม่ออกดอกในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะปลูก (เพราะดอกจะแย่ง อาหารจากล� ำต้น ลดความต้านทานโรค) ให้น�้ ำหนักล� ำและความหวานดี ล� ำแข็งแรงไม่หักล้มง่าย ตอบสนอง ต่อปุ๋ยอินทรีย์ดี ไว้ตอและแตกกอดี ขณะนี้มีพันธุ์อ้อยให้เลือกหลากหลายดี และเหมาะแก่พื้นที่ภาคต่าง ๆ รายละเอียดปรากฏในหนังสือ เรื่องราวว่าด้วยพันธุ์อ้อย ส� ำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน�้ ำตาล กระทรวง อุตสาหกรรม (๒๕๕๖) นวัตกรรมที่จะกล่าวในที่นี้จะเน้นปัจจัยทางสรีรวิทยาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอ้อยพันธุ์ ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ท� ำได้ บทความนี้จะเน้นหลักการ แนวคิดในนวัตกรรม ที่ให้พื้นฐานความรู้เพื่อเปิดทางให้เกษตรกรได้ทดลองขยายผลได้เอง โดยทดลองในพื้นที่ไร่นาของตนเอง ซึ่งจะมีปัจจัยเกื้อหนุนหรือจ� ำกัดการผลิตที่แตกต่างกัน เมื่อเกษตรกรรู้หลักคิด จะรู้เหตุรู้แนวทาง แล้วก็จะ สามารถแก้ปัญหาได้ สาขาวิชาหรือศาสตร์ที่ส� ำคัญที่เป็นองค์ความรู้หลัก เป็นพื้นฐานในการควบคุมการเจริญ เติบโตของพืช คือสรีรวิทยาของพืช ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของพฤกษศาสตร์ ครอบคลุมศาสตร์ทั้งหลายที่ว่าด้วย การศึกษาพืช พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ผลิตอาหารให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหมดในโลกนี้ เพราะพืชมีระบบเอนไซม์ ที่สามารถเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศในช่องว่างระหว่างเซลล์ให้เป็นคาร์โบไฮเดรต โดยมีน�้ ำร่วมท� ำปฏิกิริยาด้วย และเกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า กระบวนการ สังเคราะห์แสง (ที่ท่านศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล เคยใช้ในต� ำราชีววิทยาของท่านมานานแล้ว) มนุษย์ และสัตว์ไม่สามารถน� ำเอาอากาศไปสร้างเนื้อเยื่อให้ร่างกายได้ ต้องน� ำเอาอาหารที่พืชสร้างแล้วไปปรุง ดัดแปลงให้เหมาะสม โดยอาศัยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันที่พืชสร้างไปเป็นฐาน สรุปว่า อ้อยเป็น โรงงานผลิตน�้ ำตาลตัวจริง ส่วนโรงงานน�้ ำตาลเป็นเพียงที่ใช้หีบน�้ ำอ้อย น� ำน�้ ำอ้อยไปท� ำให้เป็นผลึกน�้ ำตาล ที่บริสุทธิ์ สามารถเก็บไว้ใช้เมื่อต้องการ และสะดวกแก่การขนส่งไปยังแหล่งกระจายสินค้าให้ถึงผู้บริโภคและ ไม่เน่าเสีย สิ่งที่เหลือจากผลึกน�้ ำตาลนั้นโรงงานได้น� ำไปใช้ประโยชน์หลายอย่างจนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีสิ่งใด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=