สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วงจันทร์ วงศ์แก้ว 191 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ อย่างไรก็ดี การปลูกอ้อยได้ผลผลิตหลายอย่างที่สมประโยชน์กับความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ได้น�้ ำตาลซึ่งเป็นอาหาร ได้มวลชีวภาพที่น� ำไปผลิตไฟฟ้า ได้น�้ ำอ้อยไปผลิตเอทานอลโดยตรงโดยไม่ต้องรอ ให้อ้อยมีอายุที่จะสะสมน�้ ำตาลได้เต็มที่ หรือผลิตน�้ ำตาลและใช้กากน�้ ำตาล (molass) หมักเอทานอลโดยไม่ต้องกังวลถึง ร้อยละความหวานเหมือนกับที่มุ่งหวังผลผลิตน�้ ำตาลเพียงอย่างเดียว อ้อยจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถ ใช้เป็นพืชพลังงานโดยไม่ต้องแย่งพื้นที่กับพืชอาหาร เพราะอ้อยเองสามารถเป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง กากหรือ ชานอ้อยยังสามารถใช้เป็นพลังงานผลิตไฟฟ้าได้ด้วย และเป็นสิ่งที่น่าทดลองในพื้นที่ภาคใต้ นวัตกรรมส� ำคัญสู่การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ๑. นวัตกรรมด้านเทคนิคการปลูก นวัตกรรมนี้ใช้การเพาะตาอ้อยและอนุบาลกล้าอ้อยประมาณ ๓๐ หรือ ๔๕ วันก่อนน� ำอ้อย ลงปลูกในไร่ การท� ำเช่นนี้จะท� ำให้อ้อยงอกจนระบบรากแข็งแรง และรอดตายร้อยละ ๑๐๐ เป็นการประหยัด ท่อนพันธุ์ และท� ำให้จัดระยะห่างระหว่างกออ้อยที่จะเติบโตต่อไปได้อย่างสม�่ ำเสมอกันทุกกอ เพราะเรา จัดระยะได้เอง โดยมุ่งให้ได้ระยะที่คนงานสามารถเข้าไปให้ปุ๋ยและสางใบแก่ออกได้เมื่ออ้อยโตขึ้น ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการงอกของตาอ้อยที่ปลูกแบบดั้งเดิมซึ่งงอกบ้างไม่งอกบ้าง การปลูกอ้อยแบบเดิมโดยทั่วไปจะใช้ ท่อนพันธุ์ที่มีข้อประมาณ ๒ หรือ ๓ ข้อ วางในร่องที่เตรียมไว้แล้วใช้ดินกลบ ส่วนที่จะเจริญเป็นต้นอ้อย มาจากตาอ้อยซึ่งอยู่ตามข้อที่มีปมรากอยู่รอบข้อ การงอกไม่สม�่ ำเสมอขึ้นอยู่กับปัจจัยในดินและสิ่งแวดล้อม ที่เกษตรกรควบคุมไม่ได้ แต่แบบใหม่นี้เกษตรกรสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในแปลงเพาะกล้าได้เต็มที่ และเกษตรกรสามารถเลือกต้นกล้าอ้อยที่แข็งแรงก่อนน� ำไปปลูกในไร่ ในระยะเพาะตาอ้อยนี้เกษตรกร ยังสามารถควบคุมระดับน�้ ำที่เหมาะแก่การงอกของตา เป็นการประหยัดปริมาณน�้ ำที่ใช้ไม่ให้สูญเปล่า เป็นส่วนมาก หากให้น�้ ำในไร่เพื่อช่วยให้ท่อนพันธุ์งอก ส่วนใหญ่เกษตรกรจะอาศัยความชื้นในดินที่จะให้ อ้อยงอก การแนะน� ำให้เกษตรกรปลูกต้นฤดูฝนหรือปลายฤดูฝนเป็นเหตุผลเกี่ยวกับการงอกของท่อนพันธุ์ เป็นส� ำคัญ ในนวัตกรรมใหม่นี้ปัจจัยเรื่องการงอกตัดทิ้งไปได้ เพราะเกษตรกรจะมีก� ำลังพอที่จะให้น�้ ำ ในแปลงเพาะตา ซึ่งใช้ไม่มากและใช้กับพื้นที่ที่น้อยกว่าในไร่หลายเท่า นวัตกรรมนี้ยังช่วยให้เกษตรกรปลูก ในฤดูใดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการเก็บเกี่ยวส่งโรงงาน อ้อยส่วนใหญ่จะตัดเมื่ออายุประมาณ ๑๒ เดือน เพื่อให้สะสมน�้ ำตาลในล� ำอ้อยได้สูงสุด ส่วนใหญ่จะปลูกให้ได้เก็บเกี่ยวในฤดูหนาวเพราะเชื่อว่าอ้อยจะสะสม น�้ ำตาลได้มากที่สุดในช่วงที่มีอุณหภูมิต�่ ำ ซึ่งก็เป็นไปได้ตามหลักสรีรวิทยาเพราะอัตราการหายใจของพืชลดลง เมื่ออุณหภูมิต�่ ำลง เมื่ออ้อยมีอัตราการหายใจต�่ ำลง จะคงเก็บน�้ ำตาลซึ่งเป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์ด้วย แสงไว้ได้มากขึ้น แต่น่าจะมีการท� ำวิจัยเรื่องนี้ให้ชัดเจนว่าจะมีนวัตกรรมอะไรที่จะช่วยคงความหวานให้ได้ ในระดับที่น่าพอใจโดยไม่ต้องรอฤดูหนาว จะได้เก็บเกี่ยวได้ทั้งปี เกษตรกรจะได้ไม่ขนอ้อยมาโรงงานในฤดู
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=