สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นวัตกรรมการผลิตพืชเศรษฐกิจจะช่วยลดภาวะโลกร้อน : โมเดลจากอ้อย 190 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 นอกจากนี้ เกษตรกรเชื่อว่า ระดับความหวานจะต�่ ำกว่าภาคอื่นเพราะเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกในฤดูเก็บเกี่ยว แต่ทั้งนี้ยังไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ถ้าอ้อยในภาคใต้หวานในระดับร้อยละ ๘๐ ของภาคอื่น ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยระดับประเทศ แต่ได้ปริมาณไฟเบอร์และมวลชีวภาพโดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ อ้อยในภาคใต้ก็จะเป็นพืชที่ให้ประโยชน์แบบทรีอินวัน (three in one) ได้เช่นกัน คือ ให้ผลผลิต ๑. ด้านอาหาร ๒. ด้านพลังงาน [ท� ำได้ทั้งพลังงานมวลชีวภาพเมื่อเอาชานอ้อยและส่วนต่าง ๆ ที่เหลือจาก การผลิตน�้ ำตาลไปผลิตไฟฟ้า และได้เชื้อเพลิงชีวภาพ คือ หมักกากน�้ ำตาล (molass) ให้เป็นเอทานอล] และ ๓. ผลผลิตมูลค่าเพิ่มทางอุตสาหกรรม เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ จากของที่เหลือในกระบวนการแยกสกัดน�้ ำตาล ในโรงงาน และคาร์บอนอินทรีย์ที่ได้สามารถน� ำไปผลิตสารอินทรีย์มูลค่าเพิ่มอีกหลายชนิด หากจะพิจารณา ประโยชน์ของการใช้อ้อยในแง่ของมวลชีวภาพ น่าจะได้ผลผลิตดีเพราะภาคใต้มีน�้ ำอุดมสมบูรณ์ ท� ำให้พืช เจริญเติบโตเร็ว สามารถท� ำให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงชดเชยได้กับปริมาณเนื้อที่ที่มีอยู่ โดยไม่ต้องแย่งพื้นที่ กับพืชเกษตรหลัก เช่น ยางพาราและปาล์มน�้ ำมัน ในขณะที่ยางพารามีการแข่งขันสูง ราคาตกต�่ ำลงมาก อ้อยน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่ส� ำคัญของเกษตรกรไทย โดยเน้นองค์ความรู้ที่บูรณาการให้ได้ผลผลิต สูงกว่าค่าเฉลี่ย ๑๐ เท่าให้ได้ หรือถ้าค่าเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น ๒ ถึง ๓ เท่า ก็จะสามารถลดพื้นที่ปลูกอ้อยลงได้ มากกว่า ๕ ล้านไร่ ซึ่งสามารถน� ำไปปลูกป่าเพื่อลดภาวะโลกร้อนและเพิ่มสมดุลของระบบนิเวศโดยไม่ลด ผลผลิตรวมของประเทศ (๔) อุตสาหกรรมอ้อยและน�้ ำตาลของประเทศไทยมีเสถียรภาพสูงเพราะมีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ ที่ลงตัวระหว่างภาคเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม ท� ำให้อุตสาหกรรมนี้เป็นพื้นฐานที่ดีที่จะใช้เป็นฐานไปสู่ อุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อขยายผลทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้ปิโตรเลียม เป็นฐาน ผลผลิตทางเศรษฐกิจของอ้อย (Economic Yield) ผลผลิตทางเศรษฐกิจคือส่วนที่เก็บเกี่ยวมาจากพืชซึ่งก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกร เช่น ผลผลิต ทางเศรษฐกิจของนาข้าวคือข้าวเปลือก ผลผลิตทางเศรษฐกิจจากไร่อ้อยคือล� ำต้นซึ่งน� ำไปหีบเอาน�้ ำตาล ไม่ใช่จากส่วนสืบพันธุ์ เช่น ดอก หรือ ผล ซึ่งมีปัจจัยและการควบคุมผลผลิตด้วยกระบวนการทางสรีรวิทยา ที่ซับซ้อนกว่าส่วนล� ำต้น ในการปลูกอ้อยจะต้องคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ไม่ออกดอกในสภาวะแวดล้อมที่ปลูก เพราะการออกดอกจะแย่งอาหารจากส่วนที่ท� ำให้ล� ำต้นเจริญเติบโตและลดมวลของล� ำต้นอันเป็นผลผลิต ทางเศรษฐกิจหลัก ปัจจุบันความจ� ำเป็นต้องแสวงหาพลังงานทดแทนท� ำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนไป มีการน� ำส่วนอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจนอกเหนือจากที่เคยใช้กันมา เช่น การน� ำมวลชีวภาพมาใช้ ผลิตไฟฟ้าหรือหมักเพื่อใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ท� ำให้มวลชีวภาพทั้งหมดเป็นผลผลิตทางเศรษฐกิจ และ ท� ำให้อ้อยสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจได้ในพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=