สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วงจันทร์ วงศ์แก้ว 189 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ บทน� ำ ในภาวะที่พลังงานจากแหล่งฟอสซิลก� ำลังหมดไป พลังงานจากชีวมวลเป็นพลังงานทดแทน ที่มีความส� ำคัญมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศที่เหมาะแก่การปลูกพืชที่มีความส� ำคัญทั้งทางด้าน เกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น มีอุณหภูมิ ความชื้น แสงแดดที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช ตลอดทั้งปี ท� ำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตผลทางการเกษตรได้เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เช่น ข้าว เป็นอันดับ ๑ ของโลก (ที่ลดอันดับลงในระยะนี้เชื่อว่าเป็นสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น) น�้ ำตาลได้ขยับ มาเป็นอันดับ ๒ และน่าจะเป็นอันดับ ๑ ภายใน ๒ ปีนี้เพราะรัฐบาลใหม่ได้ประกาศให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย อีก ๘๐๐,๐๐๐ ไร่ เพื่อป้อนโรงงานให้หีบอ้อยได้เต็มศักยภาพ พืชเกษตรที่มีผลผลิตมากและสามารถใช้ผลิต พลังงานทดแทนได้ เช่น มันส� ำปะหลังและปาล์มน�้ ำมัน ก็มีศักยภาพที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ นวัตกรรม การผลิตพืชเศรษฐกิจจะช่วยลดภาวะโลกร้อน : โมเดลจากอ้อย โดยปรับปรุงปัจจัยการผลิตทั้งด้านพันธุกรรม และสรีรวิทยา แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่มีอยู่ ซึ่งมีผลผลิตที่เป็นพันธุ์พืชที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทยว่ามีความหลากหลายเพียงพอแก่การใช้ประโยชน์แล้ว การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ในงานวิจัยนี้จึงเน้นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสรีรวิทยา ซึ่งหากสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ทุกพืชเกษตร อย่างน้อย ๒ เท่าของที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นผลดีทั้งแก่เศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อม เพราะจะได้ลด พื้นที่การปลูกพืชเกษตรโดยไม่ต้องลดรายได้ของเกษตรกร จะได้ไม่เกิดปัญหาสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ตามมา อีกทั้งจะเป็นผลดีทางด้านคาร์บอนฟุตพรินต์ (carbon footprint) เพราะท� ำให้มีพื้นที่ปลูกป่ามากขึ้น อันจะช่วยท� ำให้ลดภาวะโลกร้อน อ้อยเป็นพืชเกษตรที่เหมาะสมที่จะเร่งรัดให้เพิ่มผลผลิตต่อไร่โดยใช้ปัจจัยทางสรีรวิทยามากที่สุด เพราะเหตุผลหลายประการ คือ (๑) อ้อยเป็นพืชต้นแบบของการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบ C4 การสังเคราะห์ด้วยแสงแบบ C4 พบครั้งแรกในอ้อยโดยนักชีวเคมีในฮาวาย และขยายผลโดยนักสรีรวิทยาและนักชีวเคมีที่โรงงานน�้ ำตาล ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย วิธีการสังเคราะห์ด้วยแสงของอ้อยพบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าพืช ส่วนใหญ่ เช่น ข้าว มันส� ำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน�้ ำมัน และเหมาะสมอย่างยิ่งในพื้นที่เขตร้อนที่มีความเข้ม ของแสงและอุณหภูมิสูง (๒) อ้อยมีพันธุ์ที่หลากหลายให้เลือกใช้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งพันธุ์ที่ผลิตในประเทศและ น� ำเข้าจากต่างประเทศ (๓) การปลูกอ้อยเพื่อผลิตน�้ ำตาลในประเทศไทยท� ำได้ทุกภาคที่มีโรงงานรับซื้ออ้อย แต่ไม่นิยมปลูก ในพื้นที่ภาคใต้ อาจเป็นเพราะภาคใต้มีพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ยางพาราและปาล์น�้ ำมัน ที่ท� ำรายได้ดีอยู่แล้ว

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=