สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นวัตกรรมการผลิตพืชเศรษฐกิจจะช่วยลดภาวะโลกร้อน : โมเดลจากอ้อย 188 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ที่มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งสามารถพัฒนาไปใช้กับพืชเศรษฐกิจเกือบทุกชนิด เกษตรกรไทยมีความสามารถสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีข้อจ� ำกัด คล้ายคลึงกันในเรื่องของเงินทุนและการเข้าถึงน�้ ำจากระบบชลประทานของรัฐ ในขณะที่งบประมาณ ด้านงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต�่ ำมาก แต่ประเทศไทยคงมีผลผลิตด้านเกษตรอยู่แถวหน้าของอาเซียนและของโลกในบางเรื่อง ผลงานเหล่านี้ ต้องถือเป็นผลงานจากเกษตรกรด้วย การพัฒนาด้านเกษตรของไทยบางครั้งเริ่มต้นจากการลองผิด ลองถูกของเกษตรกร บางครั้งเริ่มจากการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อขายผลิตภัณฑ์บางอย่าง ท� ำให้เกิด การแข่งขัน การพัฒนาการเกษตรโดยเน้นชีววิถี ลดการใช้สารเคมี เป็นตัวอย่างความส� ำเร็จของ นวัตกรรมที่เกิดจากเทคโนโลยีการหมักด้วยจุลินทรีย์ที่เริ่มใช้ในชื่อ Effective microorganism หรือ EM ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อเนื่องอย่างกว้างขวางจนมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืช และควบคุมศัตรูพืชได้ส� ำเร็จ มีการขยายผลท� ำให้มีการท� ำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะ เป็นผลดีแก่สิ่งแวดล้อม แก่สุขภาพอนามัยของเกษตรกรและผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุน การผลิตอีกด้วย สิ่งที่ภาครัฐควรช่วยเหลือคือช่วยสร้างระบบการตลาดที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ ด้านราคาและเป็นธรรม อีกประเด็นหนึ่งคือช่วยเหลือให้เกษตรกรมีที่พักเก็บน�้ ำอย่างเพียงพอ ตลอดฤดูกาล เกษตรกรต้องมีบ่อน�้ ำหรือแหล่งน�้ ำเพื่อการชลประทานในไร่นาและสวนของตนเอง รัฐไม่จ� ำเป็นต้องสร้างคลองส่งน�้ ำคอนกรีตราคาแพง เพราะหากคลองนั้นไม่มีน�้ ำมาถึงไร่นาของ เกษตรกร นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังท� ำให้โลกร้อนขึ้น และเสียงบประมาณจ� ำนวนมาก เกษตรกร ที่มีก� ำลังทรัพย์และมีความรู้จ� ำนวนหนึ่งได้เริ่มจัดหาแหล่งน�้ ำของตนเอง ที่มีที่ดินจ� ำนวนน้อยก็จะ ลงทุนขุดบ่อบาดาลเพื่อประหยัดพื้นที่ ถ้ามีที่ดินแปลงใหญ่ท� ำสวนขนาดใหญ่และมีน�้ ำน้อย ก็อาจ สละหนึ่งในสามของพื้นที่เพื่อเก็บน�้ ำให้พอใช้ทั้งปี ไม่ต้องห่วงปัจจัยการผลิตนี้ว่าจะจ� ำกัดผลผลิตได้ ปัจจัยเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ท� ำให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่เกื้อกูลการเจริญเติบโตของพืชคือ นวัตกรรมส� ำคัญรองจากน�้ ำ การเติมอินทรียวัตถุให้แก่ดินอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่จะต้องให้ท� ำอย่าง คุ้มค่า ประหยัดทรัพยากร โดยไม่จ� ำเป็นต้องใช้ปุ๋ยราคาแพง เรื่องนี้ต้องการการวิจัยแหล่งอินทรียวัตถุ ที่จะต้องผลิตได้เองในไร่นาของเกษตรกร ซึ่งจะแตกต่างกันตามสภาพของดินและพืชเศรษฐกิจที่ปลูก ถ้าทั่วโลกท� ำได้ ๒ เท่า และขยับขึ้นไปอีกจนถึง ๑๐ เท่า เราคงได้เห็นอุณหภูมิโลกลดลง ๑.๕-๒ องศาเซลเซียสภายใน ค.ศ. ๒๑๐๐ หรือ พ.ศ. ๒๖๔๓ ตามที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกตั้งความหวังไว้ และโมเดลจากอ้อยที่ไทยจะเป็นผู้น� ำในแนวคิดนี้จะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรทั่วโลกได้ท� ำตาม จะช่วยคนทั้งโลกให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพอนามัยดี และก็จะมีสภาพเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง ค� ำส� ำคัญ : อ้อย, น�้ ำตาล, พลังงานทดแทน, นวัตกรรม, เกษตรกรรม, ภาวะโลกร้อน, ผลผลิตต่อไร่, นวัตการหาน�้ ำเพื่อการเกษตร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=