สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ทศพร วงศ์รัตน์ 183 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ฉากดังกล่าว ยังนับว่าสอดคล้องเป็นอย่างมากกับที่สุนทรภู่เคยใช้มาก่อนแต่งนิทานพระอภัยมณี ตอนที่ ๑๒ หน้า ๑๘๕ และตอนที่ ๒๒ หน้า ๓๔๑ ซึ่งเล่าถึงตัวละครขณะอยู่ที่เกาะแก้วพิสดาร และ เมืองผลึก ซึ่งก็คือเพชรบุรี จึงน่าจะหมายถึงบริเวณวัดเขาบันไดอิฐอีกเช่นเดียวกัน ค� ำกลอนนั้น คือ “แล้วเดินตัดลัดมาหน้าอาศรม ระรื่นร่มรุกขาคณาขนาน ขนันขนุนครุนเครือเหลือประมาณ มะพร้าวตาลตูมตาดดาษดา มะเดื่อดูกสุกห่ามอร่ามกิ่ง บ้างหล่นกลิ้งเกลือกอยู่ริมภูผา ละมุนม่วงพวงสะพรั่งทั้งพะวา ดกระย้าอยู่ทุกกิ่งทั้งปริงปราง ฝูงวิหคนกกามาไม่ถึง ด้วยลึกซึ้งสายสมุทรสุดกว้างขวาง ไม้จึงงามตามฤดูไม่รู้ร้าง พระชมพลางเพลิดเพลินด� ำเนินมาฯ ถึงกุฎีที่อยู่ท่านครูเฒ่า จึงแวะเข้าอภิวันท์ด้วยหรรษา สรรเสริญเจริญฤทธิ์พระสิทธา คุณช่างมาอยู่ถึงริมหิมพานต์ คิรีรอบขอบเขตนิเวศวัด สารพัดภิญโญรโหฐาน” “กุฎีน้อยน้อยร้อยเศษสังเกตนับ เครื่องส� ำหรับกุฎีก็มีพร้อม ต้นไม้ดอกออกลูกปลูกริมกุฎิ์ ต้นสายหยุดพุดล� ำดวนให้หวนหอม ที่กุฎิใหญ่ไทรเรียงเคียงพะยอม ทอดกิ่งค้อมข้างหลังคาดูน่าชม สองกษัตริย์ทัศนารุกขาเขา มาตามเงาเงื้อมผาริมอาศรม ทั้งห้าองค์ลงเดินเนินจงกรม ระรื่นร่มรุกขาน่าส� ำราญฯ ถึงที่สุดกุฎิ์ใหญ่ยอดบรรพต รูปดาบสปั้นไว้ในวิหาร พระหยุดยั้งนั่งที่ศิลาลาน นางชวนหลานลูกยาอุ้มผ้าไตร” โดยที่สุนทรภู่ยังเคยกล่าวถึงบริเวณดังกล่าว ไว้ตั้งแต่ในหน้า ๑๘๔ ของตอนที่ ๑๒ ว่า “เห็นเหว ห้วยกรวยโกรกชะโงกมอง ดูปลงปล่องเปลี่ยวปลาบวาบวิญญาณ์” จึงเป็นไปได้ที่สุนทรภู่ก็ยังได้ใช้บริเวณนี้ “มาตามเงาเงื้อมผาริมอาศรม” เป็นฉากตอนแต่งชีเปลือยหลอกผลักสุดสาครตกเหว เพราะเคยได้กล่าวไว้ เป็นค� ำกลอนคล้ายคลึงกัน ไว้อีกในตอนที่ ๒๔ หน้า ๓๘๔ ว่า “ถึงปากปล่องช่องเหวเป็นเปลวโปร่ง ตลอด โล่งลึกล�้ ำเหลือก� ำหนด” ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า สถานที่นี้น่าจะเป็นที่นั่งแต่ง “สมุด...แสนรักเรื่องอักษร” ร� ำลึกถึงพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ถูกปลวกในพระวิหารวัดเลียบกินไปดังมีกล่าวอยู่ใน “ร� ำพันพิลาป” อีก ทั้ง “กาพย์พระไชยสุริยา” เพราะจากค� ำกลอน “ฝูงวิหคนกกามาไม่ถึง ด้วยลึกซึ้งสายสมุทรสุดกว้าง ขวาง” ดังกล่าว นับว่าสอดคล้องกับเรื่องของพระยาสกุณา หรือพระยาส� ำภาที ที่มีกล่าวอยู่ใน ฉบัง ๑๖ ของ “กาพย์พระไชยสุริยา” ที่สุนทรภู่แต่งต่อมาเมื่อถูกให้หลบไปอยู่ที่เพชรบุรี ระหว่างเดือน ๑๒ ถึง เดือน ยี่ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ (ดู ค� ำอธิบายในหมายเลข ๑๒, ๑๕)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=