สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีปล่องลมแสงอาทิตย์ 10 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 การวิเคราะห์มิติ (dimensional analysis) สามารถใช้ในการสร้างแบบจ� ำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ ในการวิเคราะห์ได้เช่นกัน (Koonsisuk and Chitsomboon, 2009: 2136-2143) ; (Koonsisuk and Chitsomboon, 2009: 1611-1618) การวิเคราะห์มิติเป็นการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่คิดว่า มีผลต่อปัญหาที่สนใจเพื่อสร้างแบบจ� ำลองทางคณิตศาสตร์ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ส� ำเร็จรูปทางวิศวกรรมได้พัฒนาขึ้นมาก ทั้งนี้ เพราะปัญหาที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้น มีความซับซ้อนขึ้นตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเดียวกันส� ำหรับปัญหาการไหลในเทคโนโลยี SCPP มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ส� ำเร็จรูปทางด้านพลศาสตร์ของไหลเพื่อการวิเคราะห์ ซึ่งที่นิยมใช้ในการ ท� ำวิจัยได้แก่ ANSYS (Koonsisuk and Chitsomboon, 2009: 1764-1771) และ FLUENT (Tingzhen et al., 2008: 897-905) การใช้โปรแกรมส� ำเร็จรูปนั้นมีความสะดวก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโปรแกรม ส� ำเร็จรูปได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเบ็ดเสร็จ จึงท� ำให้การที่จะใส่เงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้ปัญหาที่ท� ำการวิเคราะห์ มีสภาพที่ใกล้เคียงกับปัญหาจริงมากที่สุดนั้นท� ำได้ยากพอสมควร ประกอบกับโปรแกรมส่วนมากนั้นพัฒนาขึ้น โดยต่างชาติ และมีราคาที่สูงมากในปัจจุบัน ๔. สรุป ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ที่สูง นอกจากการผลิตไฟฟ้า โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell) แล้ว เทคโนโลยีปล่องลมแสงอาทิตย์น่าจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่น่าสนใจ เนื่องด้วยเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน ประกอบกับพื้นที่แถบชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีค่าความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ในปริมาณที่สูงและส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงนั้นราคายังไม่สูง มากนัก นอกจากนี้ การก่อสร้างโครงสร้างปล่องลมหรือส่วนรวบรวมพลังงานของระบบก็สามารถท� ำให้ส� ำเร็จ ลงได้ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน การสร้างปล่องลมขนาดความสูงมากกว่า ๒๐๐ เมตร ดูไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หลังจากที่ตึก Burj Dubai สามารถสร้างส� ำเร็จลงได้ที่ความสูง ๘๒๘ เมตร ประกอบกับความก้าวหน้า ทางด้านวัสดุศาสตร์ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอนาคตโครงสร้างปล่องลมอาจจะไม่ใช่คอนกรีตอีกต่อไป แต่อาจจะเป็น โครงสร้างเปลือกบาง (shell structures) เข้ามาแทนที่ เช่น ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัสดุประเภท carbon shell system (CSS) โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่างการพัฒนา composite technology ร่วมกับ structural members technology วัสดุ CSS มีความแข็งแรงกว่าเหล็กถึง ๑๐ เท่าแต่มีน�้ ำหนักเบา และ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า ๗๕ ปี โครงการก่อสร้างในต่างประเทศหลายโครงการได้เริ่มมีการน� ำวัสดุ CSS มาใช้ (www.cskcss.com , 2014) ระบบการท� ำงานของเทคโนโลยี SCPP สามารถออกแบบให้ด� ำเนินการผลิตไฟฟ้าได้ทั้งกลางวันและ กลางคืน อาศัยเพียงการติดตั้งท่อน�้ ำหรือถังเก็บน�้ ำภายในส่วนรวบรวมพลังงาน ในตอนกลางวันน�้ ำจะถูก ท� ำให้ร้อนและความร้อนนี้จะคายตัวออกมาในเวลากลางคืน ส่งผลให้ระบบสามารถท� ำงานได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ท� ำให้ค่าใช้จ่ายในการด� ำเนินงานและดูแลรักษาระบบต�่ ำมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=