สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

มารดาของสุนทรภู่ชื่อบัว 148 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ส่วนใน “นิราศเมืองเพชร” เมื่อเดินทางผ่านวัดพลับ หรือวัดราชสิทธารามในปัจจุบัน ก็กล่าว ถึงชื่อวัดโดยไม่มีการพาดพิงถึงอื่นใด คือแต่เพียงว่า “ถึงวัดพลับลับลี้เป็นที่สงัด เห็นแต่วัดสังข์จายไม่วาย หมอง” ดังนั้น จนถึงปัจจุบันจึงมีเฉพาะงานของผู้เขียนเองใน พ.ศ. ๒๕๕๐ เรื่อง“สุนทรภู่กับการไป เมืองแกลง” เท่านั้น ที่พยายามใช้ลายแทงจากสมญา“พระธรรมรังษี” ภิกษุบิดาของสุนทรภู่ที่ครอง พรรษาผ่านมาได้แล้วถึง ๒๐ พรรษา จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอารามของวัดป่าที่สังกัดอยู่ มาพิจารณาแล้วเสนอว่า บิดาของสุนทรภู่น่าจะมีชื่อเดิมว่า “สว่าง” หรือ “แสง” (จาก “รังษี”) ซึ่งบังเอิญ พ้องกับชื่อคนแจวเรือในการเดินทางครั้งนั้น คือนายแสง มาครั้งนี้ เมื่อผลออกมาว่า โดยนัยในนิทาน พระอภัยมณี มารดาของสุนทรภู่มีเค้าเป็นนางปทุมเกสร ที่น่าจะแปลงมาจากชื่อของมารดาคือ บัว ฉะนั้น ท้าวสุทัศน์นอกจากจะถูกหมายในการแต่งให้เป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย กษัตริย์ผู้สร้างวัดสุทัศน์ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในอีก นัยหนึ่งที่ค� ำนี้แปลได้ว่า ดูดี หรือ มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งก็เพราะแสงสว่าง จึงน่าจะพาดพิงได้ถึงชื่อ แสง ของ บิดาด้วย เท่ากับจับคู่ได้กับ บัว ที่เป็นชื่อมารดา หลังจากนั้น แม้ผู้เขียนจะได้ค้นคว้าด้วยการศึกษาหาค� ำกลอนจากงานต่าง ๆ ของสุนทรภู่ โดย วิธีตรงกับของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ที่มีอยู่ว่า “ให้เนื้อเรื่องเป็นพยานกันเอง” ตลอด มา เพราะเป็นวิสัยของสุนทรภู่ที่จะร�่ ำไรทุกเรื่องที่เข้ามาในชีวิตอย่างไม่รู้จบ เพื่อให้ได้งานค� ำกลอนอวด ชาวโลก แล้วผู้เขียนได้เรียบเรียงออกมาเป็นผลงานอีกรวมกว่า ๒๐ เรื่อง ซึ่งรอการตีพิมพ์รวมเล่ม และ ปรับปรุงไปพร้อมกับการค้นคว้าเรื่องที่น่าสนใจประเด็นอื่น ๆ ตลอดมา รวมทั้งขณะเรียบเรียงเรื่องนี้ ก็ยัง ไม่พบว่า สุนทรภู่ได้กล่าวไว้ในที่ใดอีก เกี่ยวกับชื่อ ที่อาจจะเป็นร่องรอยของชื่อบิดาตัวเอง นอกจากที่กล่าว เท่านั้น งานเรื่องนี้ของผู้เขียนจึงเป็นผลการเน้นค้นคว้าหาว่า จะมีที่ใดในงานใดของสุนทรภู่ ที่สุนทรภู่กล่าว ถึงชื่อมารดาของตัวเอง หรือร่องรอยอันใด ที่จะน� ำไปสู่ชื่อมารดาของสุนทรภู่ ขณะเดียวกันก็จะเป็นการให้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติของสุนทรภู่ หากพาดพิง หรือขยายไปถึง เริ่มเรื่อง เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นการต่อยอดหลังจากที่ผู้เขียนเริ่มได้เค้าจาก “โคลงนิราศสุพรรณ” โคลงที่ ๑๐๖ ว่ามารดาของสุนทรภู่น่าจะมีชื่อว่า บัว จนในที่สุดก็ได้เป็นประกายดลใจ และเป็นที่มาของบทความ เรื่องนี้ เมื่อผู้เขียนโยงไปเข้าได้กับที่กล่าวกันว่า เป็นเรื่องเล่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยพระราชนิพนธ์ “บทละครเรื่องอิเหนา” แล้วพระราชทานแบ่งให้เหล่ากวีที่ทรงปรึกษาไปช่วยกัน แต่งตอนต่าง ๆ พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงรับตอนบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าวดาหาไป ใช้บน มาแต่งจนเสร็จ ก็ได้รับสั่งให้สุนทรภู่ที่ทรงเชื่อถือเป็นครูทางกวี ช่วยตรวจอ่านเสียก่อน สุนทรภู่ เมื่อได้พิจารณา จึงกราบทูลว่า ที่ทรงนิพนธ์มาทั้งหมดนั้น สมควรอยู่แล้ว จนเมื่อถึงวันที่พระบาทสมเด็จ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=