สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ทศพร วงศ์รัตน์ 147 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ บ้างก็เป็นคนในประวัติศาสตร์ มีการเกิดการตายจากเรื่องจริง แต่ตัวละครยังเล่นบทต่อก็มี แม้ปรากฏการณ์ ธรรมชาติ หรือเหตุการณ์บ้านเมือง ก็มีกล่าวไว้อย่างสอดคล้องกับเวลาของการแต่ง ค� ำถามจึงเกิดกับผู้ เขียนว่า แล้วบิดาและมารดาของสุนทรภู่คือใครในนิทาน หรือสุนทรภู่กล่าวถึงไว้ในที่ใด (ได้สังเกตว่า สุนทรภู่ใช้ค� ำว่า “ไร” แทน “ใด” อาจเป็นการใช้ค� ำในสมัยนั้น) หรือในงานค� ำกลอนอื่น ๆ เพราะได้ มีการกล่าวพาดพิงถึงบิดา โดยเฉพาะมารดาครั้งแล้วครั้งเล่า จึงน่าจะต้องมีเค้าของชื่อจริงปรากฏอยู่ ที่ใดบ้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ เมื่อได้ทรงนิพนธ์ “ประวัติสุนทรภู่” ก็ทรงกล่าวถึงไว้แต่เพียงว่า “บิดามารดาจะชื่อใดไม่ปรากฏ แต่ว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร�่ ำ ในเขตอ� ำเภอเมืองแกลง แขวงจังหวัดระยอง ฝ่ายมารดาเป็นชาวเมืองอื่น มาอยู่ด้วยกันในกรุงเทพฯ” อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้กล่าวถึงกันก็เป็นงานของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ที่ไม่มีใครเชื่อ เพราะนายกุหลาบเป็น คนชอบกุ จึงได้ชื่อว่า นายกุ สร้างเรื่องโดยไม่มีหลักฐาน จนถูกภาคทัณฑ์จากพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส� ำหรับกรณีนี้ ก.ศ.ร. เคยแต่งเรื่องที่กล่าวถึงประวัติสุนทรภู่ โดยอ้างว่า รู้มาจาก นายพัด บุตรของสุนทรภู่ ว่า “สุนทรภู่เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) บ้านอยู่หลังป้อมวังหลัง สุนทรภู่เดิมเป็นศิษย์พระครู วิมังคลาจารย์ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆัง) เรียนหนังสือไทยกับพระพุฒาจารย์ วัดท้ายตลาด บวชวัดบาง หว้า ได้ถวายพระอักษรสมเด็จพระปิ่นเกล้า ได้ท� ำสวัสดิรักษาค� ำกลอน สึกแล้วได้เป็นขุนสุนทรในกรม อาลักษณ์ รัชกาลที่ ๒ เป็นผู้โปรดปรานมาก ได้พระราชทานบ้านหลวงอยู่ริมท่าช้าง” แต่ก็มิได้กล่าวถึง ชื่อมารดาของสุนทรภู่แต่อย่างใด (หมายเหตุ : ก.ศ.ร. กุหลาบ เป็นชื่อที่เจ้าตัว คือนายกุหลาบ ตฤษณานนท์ ใช้ โดยย่อมา จากสมญา เกสโร ที่ได้รับเมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุ ชิตชิโนรส เป็นพระอุปัชฌาย์ นายกุหลาบเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ มีนาคม ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗ ถึงแก่ กรรมเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๔) ในบรรดางานของสุนทรภู่ เช่นใน “โคลงนิราศสุพรรณ” ที่สุนทรภู่กล่าวถึงชื่อพลับ แต่ก็เป็น เด็กผู้หญิง รู้จักกันตั้งแต่ครั้งอยู่กันใต้พระบารมีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) หรือเมื่อ นึกถึง ลูกพลับ ก็มีกล่าวเพียงคู่กับหมากพลู และจันอับเท่านั้น เป็นค� ำโคลงตามล� ำดับ ว่า “๒๙ สวรหลวงแลสล้างล้วน พฤกษา เคยเสด็จวังหลังมา เมื่อน้อย ข้าหลวงเล่นปิดตา ต้องอยู่ โยงเอย เหนแต่พลับกับสร้อย ซ่อนซุ้มคลุมโปงฯ” “๓๐๑ หมากพลูสู่สมใจ จันอับ พลับเอย”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=