สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ค� ำน� ำ เมื่อผู้เขียนพอจะจับความได้ว่า ตัวละครในนิทาน “พระอภัยมณีค� ำกลอน” ทุกตัวล้วนเป็นเค้า ของบุคคลจริงที่สุนทรภู่รู้จักมักคุ้น ในช่วงระหว่างการแต่งนิทานเรื่องนี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายปีมะแม พ.ศ. ๒๓๖๖ ถึงเดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๘๘ รวมทั้งตัวของสุนทรภู่เอง ตัวละครตัวหนึ่ง ๆ ส่วนใหญ่ยังจะรับ บทที่เป็นเรื่องราวของบุคคลจริงอีกหลายคน โดยไม่มีการเจาะจง ซึ่งอาจจะข้ามเพศ หรือข้ามพวกกันก็มี มารดาของสุนทรภู่ชื่อบัว ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ ในการแต่งค� ำกลอน สุนทรภู่ต้องเริ่มหาฉากด้วยการเดินทางเรือไปในท้องที่ห่างเมือง เพื่อจะได้คร�่ ำครวญเรื่องที่มีอยู่ในใจ แล้วยังพยายามร�่ ำไรถึงหญิงคนรักที่จากมา หรือหญิงอื่น ใดไว้ วิธีการนี้เกิดขึ้นเป็นปรกติในทิศทางของการเดินทางที่ต่างกัน ส� ำหรับการแต่งเรื่องครั้ง ต่อ ๆ มา ประวัติของสุนทรภู่และคนข้างเคียงจึงสามารถสืบหาได้จากงานชิ้นต่าง ๆ ของสุนทรภู่ ผู้เขียนมีข้อสันนิษฐานว่า สุนทรภู่น่าจะกล่าวถึงมารดาของตนโดยแอบแฝง หรือท� ำเป็นนัยไว้ ในค� ำกลอนอย่างแน่นอน โดยพอจะได้เค้าว่า เธอมีชื่อว่า บัว ในงานค้นคว้าเรื่องนี้ จึงเป็นผล จากการรวบรวมบรรดาค� ำกลอนในงานต่าง ๆ ทั้งหมดที่มีค� ำกล่าวโดยสุนทรภู่ถึงพืชพันธุ์ที่เป็น บัว แล้วเรียบเรียงไว้ตามล� ำดับการแต่งก่อนหรือหลัง พร้อมกับการตีความ จากการที่สุนทรภู่ เคยเป็นกวีที่ทรงปรึกษาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีเหตุการณ์ที่แสดงว่า สุนทรภู่ไม่ยอมที่จะให้ใครใช้ค� ำว่า บัว ในทางที่ตัวเองคิดว่าไม่เหมาะสม เมื่อประจวบกับมารดา ถึงแก่กรรม ในปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ สุนทรภู่ก็ได้กล่าวทันทีไว้ใน “โคลงนิราศสุพรรณ” โคลงที่ ๕ และพาดพิงถึงบัวไว้ในนิทาน “พระอภัยมณีค� ำกลอน” ตอนที่ ๔๕ หน้า ๙๐๒ ที่แต่งพร้อม ๆ กัน ว่า “เกษรร่วงโรยรายขจายจร” และอีก ๑ ปีต่อมาใน “นิราศพระประธม” ว่า “บ้างร่วงโรย โปรยปรายกระจายจร” ซึ่งยังสอดคล้องกับการมีตัวละครเป็นนาง “ปทุมเกสร” และส่อว่า คือ ภาพของมารดาตัวเองเมื่อเริ่มสร้างตัวละครส� ำหรับนิทานค� ำกลอนเรื่องนี้ ส่วนชื่อต� ำบลบางบัว ในครั้งเดินทางผ่านเมื่อแต่ง “โคลงนิราศสุพรรณ” ก็กล่าวเป็น โคลงที่ ๑๐๖ ให้นัยอีกว่า เป็นชื่อ พ้องกับชื่อมารดา ค� ำส� ำคัญ : มารดาของสุนทรภู่, ชื่อของเธอ, บัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=