สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
จงรักษ์ ผลประเสริฐ, สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ, พรรณวีร์ เมฆวิชัย และ ทาคาชิ มิโน 141 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ สาขาวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ความยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้จาก ทฤษฎีในห้องเรียน และประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติในพื้นที่จริง เพื่อสร้างเสริมทักษะและพัฒนาขีด ความสามารถในการคิดริเริ่ม ตลอดจนเป็นผู้น� ำในการวางแผนแก้ไขปัญหาในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ หลักสูตรยังมุ่งหวังให้มีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ผ่านกระบวน ทัศน์และวิเคราะห์เชื่อมโยงแบบองค์รวม จากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสหสาขาวิชาการ และ การปฏิสัมพันธ์กันในระหว่างนักวิจัยระดับนานาชาติที่มีความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม โครงการฯ ได้ผลิตดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มาจากประเทศต่าง ๆ มากกว่า ๓๐ ประเทศทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไทย เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาดากัสการ์ มองโกเลีย ภูฏาน จอร์แดน เนปาล ศรีลังกา เคนยา อิหร่าน โปแลนด์ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย บราซิล ฝรั่งเศส สโลวาเกีย โปรตุเกส ชิลี จาไมกา อาเซอร์ไบจาน โบลิเวีย เอธิโอเปีย ๔.๓ ตัวอย่างงานวิจัยของหลักสูตร GPSS-GLI ผลงานที่ทางโครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ด� ำเนินการศึกษาวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาการวิชาเข้าไว้ด้วยกัน ได้ แสดงไว้ดังหัวข้อวิจัยต่อไปนี้ ปัจจัยจิตวิทยา สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการรับรู้ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาในประเทศไทย (Kittipongvises, 2013) การศึกษาและประเมินศักยภาพการด� ำเนินงานให้เงินทุนช่วยเหลือแก่กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เพื่อน� ำไปใช้ฟื้นฟูพื้นที่หรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น ให้กลับสู่ สภาพปรกติ (Nagai, 2013) นโยบายลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากการท� ำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าใน ประเทศก� ำลังพัฒนากับความมั่นคงในการครอบครองพื้นที่ป่าชุมชน กรณีศึกษาในประเทศกัมพูชา (Thuon, 2013) การประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการ ตัดสินใจเลือกใช้พลังงานส� ำหรับผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษาในประเทศฝรั่งเศส (Tauzin, 2013) ๕. บทสรุป ด้วยปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของภาวะเมืองอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลให้ เกิดปัญหาการขาดแคลนและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นอุปสรรค ต่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ กระบวนการแก้ไขปัญหาดัง กล่าวด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบเดิม อาจไม่ประสบผลตามที่คาดหวังเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ แนวคิดการศึกษา แบบสหสาขาวิชาและการข้ามผ่านสาขาวิชาการ นับเป็นจุดเริ่มต้นส� ำคัญและเป็นทางเลือกใหม่ให้นักวิจัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=