สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
โครงการศึกษาเพื่อประเด็นใหม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 140 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ๓. แนวทางงานวิจัย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบสหสาขาวิชาการ (Multidisciplinary) และการข้าม ผ่านสาขาวิชาการ (Transdisciplinary) จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้นพบว่า โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัย แนวทางและกระบวนการวิจัยแบบเดิมคงมีไม่มากนัก ดังนั้น แนวคิดจากการศึกษาแบบสหสาขาวิชาการ และการข้ามผ่านสาขาวิชาการจึงเป็นแนวทางเลือกใหม่ให้นักวิจัยได้ริเริ่มด� ำเนินโครงการและขับเคลื่อน ผลงาน เพื่อน� ำไปสู่การแก้ปัญหาที่สมบูรณ์ หรือได้ประเด็นที่ใหม่จากงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ โดยผ่านกระบวนวิธี ดังต่อไปนี้ ๓.๑ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหสาขาวิชาการ เป็นการศึกษาแบบบูรณาการพหุสาขาวิชา โดยการผสม ผสานมุมมองเรื่องต่าง ๆ ในลักษณะที่ไม่แยกส่วน เชื่อมโยงและจัดการความรู้จากศาสตร์หลายสาขาวิชา เพื่อ ให้นักวิจัยเกิดความเข้าใจ และเห็นความสัมพันธ์ของปัญหาอย่างเป็นภาพรวม เช่น การบูรณาการสาระความรู้ ทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เข้ากับสาระความรู้ทางสังคมศาสตร์ ๓.๒ระเบียบวิธีวิจัยแบบข้ามผ่านสาขาวิชาการ เป็นการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือของนักวิจัยที่มี ความรู้ความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะสาขา ในการวางแผนและก� ำหนดปัญหาของกระบวนการวิจัยร่วมกัน ตั้งแต่แรก เพื่อบูรณาการผสมผสานแนวคิดจากหลายสาขาเข้าด้วยกันอย่างเชื่อมโยง เป็นระเบียบแบบแผน น� ำไปสู่การแก้ปัญหางานวิจัยที่สมบูรณ์ โดยช่วยกันแก้ปัญหาในลักษณะเฉพาะหรือมีความซับซ้อนในศาสตร์ แต่ละสาขาได้ ตลอดจนน� ำไปสู่ประเด็นใหม่ที่น่าสนใจจากงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ อย่างเป็นระบบและองค์รวม ๔. กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น : โครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืนและ ภาวะความเป็นผู้น� ำในระดับนานาชาติ (GPSS-GLI) ๔.๑ ความเป็นมาของ GPSS-GLI โครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จัดตั้ง ขึ้นใน ค.ศ. ๒๐๐๗ โดยเริ่มต้นจากการบูรณาการกันในระหว่างหลักสูตรสาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ระบบสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและมนุษยศาสตร์ สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ตลอดจนแรงผลักดันจากเครือข่ายนักวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ความยั่งยืน ต่อมาใน ค.ศ. ๒๐๑๒ หลักสูตรดังกล่าวได้ยกระดับการศึกษาให้มีคุณภาพ สูงขึ้น โดยพัฒนาและเพิ่มศักยภาพบัณฑิตของหลักสูตรให้มีความสามารถและทักษะความเป็นผู้น� ำในการแก้ไข ปัญหาความยั่งยืนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกระทรวง ศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และประเทศญี่ปุ่น ๔.๒ วิสัยทัศน์และพันธกิจของ GPSS-GLI วิสัยทัศน์ของโครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (GPSS-GLI, 2013) คือมุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ ความเข้าใจใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=