สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

จงรักษ์ ผลประเสริฐ, สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ, พรรณวีร์ เมฆวิชัย และ ทาคาชิ มิโน 137 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ สาขาวิชาหลายสาขา กรอบแนวความคิดดังกล่าวนี้ได้มีการริเริ่มและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และแพร่หลายในวงการวิชาการระดับนานาชาติ เช่น กรณีศึกษาตามแนวคิดของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืนและภาวะความเป็นผู้น� ำในระดับ นานาชาติที่เน้นการเพิ่มทักษะแก้ไขปัญหา สามารถน� ำไปใช้ได้จริง โดยมีที่มาจากการเชื่อมโยงกัน ในระหว่างหลักสูตรสาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบบสิ่งแวดล้อม วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมและมนุษยศาสตร์ สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้กลุ่มนักศึกษามีโอกาสท� ำวิจัยในพื้นที่จริงเพื่อสืบค้นปัญหาและ แนวทางการแก้ไขร่วมกัน ผ่านกระบวนทัศน์การวิจัยอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งมีโครงการแลกเปลี่ยน ความรู้ เจตคติและประสบการณ์ระหว่างประเทศกับมหาวิทยาลัยชั้นน� ำทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดย คาดหวังว่า โครงการนี้จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์และความเป็นผู้น� ำในการ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของมวลมนุษยชาติ ค� ำส� ำคัญ : การข้ามผ่านสาขาวิชาการ, ความยั่งยืน, สิ่งแวดล้อม, สหสาขาวิชาการ, การคิดอย่าง องค์รวม ๑. บทน� ำ ๑.๑ ความเป็นมาของการพัฒนาที่ยั่งยืน อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม และกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการขยายตัวของภาวะเมืองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการผลิตและบริโภค ที่เป็นผลเสียแก่สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต หากมนุษย์ยังคงด� ำเนินแนวทางการพัฒนาแบบเดิม โดยขาด การค� ำนึงถึงข้อจ� ำกัดทางทรัพยากรธรรมชาติ ย่อมส่งผลต่อขีดความสามารถในการรองรับได้ของระบบนิเวศ ส� ำหรับคนรุ่นต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงความส� ำคัญของปัญหา ดังกล่าว จึงจัดการประชุมว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๒ และเมื่อสิ้นสุดการประชุม กลุ่มประเทศสมาชิกได้ร่วมกันร่างแผนปฏิบัติการส� ำหรับศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีความหมายรวมถึง “การพัฒนาที่สนองตอบความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความ ต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต” หรือเป็นการพัฒนาโดยบูรณาการองค์ประกอบพื้นฐาน ๓ มิติ (UNCED, 1992) ดังนี้ (๑) มิติสิ่งแวดล้อม หรือการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ (๒) มิติสังคม หรือการจัดสรรการใช้ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยพื้นฐานอย่างเพียงพอและ เท่าเทียม และ (๓) มิติเศรษฐกิจ หรือการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยไม่ท� ำลายสิ่งแวดล้อมและ ดุลยภาพในระบบนิเวศ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=