สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมพล ประคองพันธ์ 131 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ๑๕ นาที) หรือละลายเร็ว (มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๕ ใน ๓๐ นาที) ในตัวท� ำละลาย ๓ ชนิด ที่ pH ๑.๒, ๔.๕ และ ๖.๘ ๒. ตัวยาอยู่ในกลุ่ม BCS Class II ที่เป็นกรดอ่อน มีอัตราการละลายเร็ว (มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ ๘๕ ใน ๓๐ นาที) ในตัวท� ำละลาย ๓ ชนิด ที่ pH ๑.๒, ๔.๕ และ ๖.๘ ๓. ตัวยาอยู่ในกลุ่ม BCS Class III มีอัตราการละลายเร็วมาก (มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๕ ใน ๑๕ นาที) ในตัวท� ำละลาย ๓ ชนิด ที่ pH ๑.๒, ๔.๕ และ ๖.๘ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยอมรับการยกเว้นการศึกษาชีวสมมูลในมนุษย์ตามหลัก BCS (biowaiver) ใน ค.ศ. ๒๐๐๐ โดยรับเฉพาะยาในกลุ่ม BCS I (US Dept. of Health, 2000) ต่อมามี ผลงานวิจัยจ� ำนวนมากสนับสนุน ความเป็นไปได้ที่จะยกเว้นส� ำหรับยา BCS III (Jantratid et al., 2006) ด้วย ซึ่งเป็นที่ยอมรับขององค์กรยาของยุโรป (EMA) จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การศึกษาชีวสมมูล (European Medicines Agency, 2010) มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๑๐ โดยให้ยกเว้นการศึกษาชีวสมมูล ในมนุษย์ตามเกณฑ์ข้อ ๑ และ ๓ ขององค์การอนามัยโลก ส่วนของสหรัฐอเมริกาและของประเทศไทยยังคง ให้ยกเว้นเฉพาะเกณฑ์ข้อ ๑ การทดสอบการละลายเพื่อขอยกเว้นการศึกษาชีวสมมูลในมนุษย์ส� ำหรับยาต่างความแรง ยาที่มีผลการศึกษาชีวประสิทธิผลหรือชีวสมมูลในความแรงหนึ่งแล้ว เมื่อจะขอขึ้นทะเบียนที่ความแรง ต่างกันสามารถขอยกเว้นการศึกษาในมนุษย์ได้โดยใช้ผลการเปรียบเทียบกราฟการละลายประกอบภายใต้ เงื่อนไขต่อไปนี้ (US Dept. of Health, 1997) - ผลิตภัณฑ์ยาต้องผลิตโดยผู้ผลิต/สถานที่ผลิต/กระบวนการผลิตเดียวกัน - มีชนิดของส่วนประกอบในต� ำรับเหมือนกัน ยกเว้นกลิ่นและสีที่ใช้ - มีรูปแบบและสัดส่วนของสารออกฤทธิ์ต่อสารไม่ออกฤทธิ์ (active ingredient/inactive ingredient) เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้เคยศึกษาชีวประสิทธิผลเปรียบเทียบกับยาต้นแบบมาแล้ว แต่มีความแรงต่างกัน เช่น ยาเม็ดความแรง ๕๐ มิลลิกรัมมีส่วนประกอบอื่น ๆ ในต� ำรับทุกตัวเป็นครึ่งหนึ่งของยาเม็ดความแรง ๑๐๐ มิลลิกรัม เป็นต้น ส� ำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่มีปริมาณตัวยาส� ำคัญในต� ำรับต�่ ำมาก ๆ (น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของน�้ ำหนักรวม) เป็นยาที่มีฤทธิ์แรง น�้ ำหนักรวมของยาทุกความแรง ควรมีค่าใกล้เคียงกันในหนึ่งหน่วย (อยู่ในช่วงร้อยละ +๑๐ ของน�้ ำหนักรวม) โดยลดปริมาณสารเฉื่อยบางตัวเท่ากับปริมาณของตัวยาที่เพิ่มขึ้นในความแรงอื่น สัดส่วน ของสารไม่ออกฤทธิ์ของความแรงต่าง ๆ ควรใกล้เคียงกัน - มีข้อมูลการศึกษาชีวสมมูลของขนาดความแรงหนึ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=