สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมพล ประคองพันธ์ 129 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ในที่นี้ n หมายถึง จ� ำนวนจุดที่สุ่มตัวอย่าง R t คือ ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์การละลายของยาต้นแบบที่เวลา t และ T t คือ ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์การละลายของยาทดสอบที่เวลา t หากกราฟการละลาย ๒ เส้นเหมือน กันทุกเวลาจะได้ค่า f 2 = ๑๐๐ ค่า f 2 อยู่ระหว่าง ๕๐-๑๐๐ แสดงว่ากราฟการละลายมีความแตกต่างกัน โดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ ๑๐ ถือได้ว่ากราฟการละลายของผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีความเหมือนกันหรือไม่มีความ แตกต่างกันนั่นเอง ในการใช้ข้อมูลเพื่อค� ำนวณ f 2 จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ - อย่างน้อยต้องมี ๓ จุดเวลา (ไม่รวมเวลาที่ ๐) - จ� ำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งผลิตภัณฑ์ยาทดสอบและผลิตภัณฑ์ยาอ้างอิงอย่างละ ๑๒ หน่วย (เม็ด แคปซูล หรืออื่น ๆ) ทุกจุดเวลา - ไม่ใช้ค่าเฉลี่ยของการละลายเกินหนึ่งค่าส� ำหรับการละลายที่มากกว่าร้อยละ ๘๕ หรือเมื่อปริมาณ ยาที่ละลายคงที่ในแต่ละสูตรต� ำรับ - เปอร์เซ็นต์สัมประสิทธิ์การเบี่ยงเบน (% CV) ของการละลายในแต่ละผลิตภัณฑ์ จุดแรกต้อง ไม่เกินร้อยละ ๒๐ และตั้งแต่จุดเวลาที่ ๒ ถึงจุดสุดท้ายต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ค่า f 2 คือ similarity factor มีค่าอยู่ในช่วง ๕๐-๑๐๐ แสดงว่ากราฟทั้ง ๒ เส้นต่างกันไม่เกินร้อยละ ๑๐ จึงจะยอมรับว่ากราฟแสดงการละลายของผลิตภัณฑ์ยาทดสอบเหมือนกับผลิตภัณฑ์ยาอ้างอิง ๓. กรณีที่ค่า % CV ของการละลายที่เวลาเดียวกันมีค่าสูงเกินจากที่ก� ำหนดในข้อ ๒ แสดงว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีความแปรปรวนมาก อาจจะใช้วิธีทางสถิติที่เหมาะสม เช่น Multivariate confident region statistics (European Medicines Agency, 2010) การทดสอบการละลายเพื่อการควบคุมคุณภาพ การทดสอบการละลายเป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสม�่ ำเสมอในการ ผลิต เป็นหัวข้อที่ก� ำหนดเป็นมาตรฐานในฟาร์มาโคเปียส� ำหรับยาบางชนิด โดยมีรายละเอียด เครื่องมือ วิธีการ ทดสอบ ชนิดของตัวกลางท� ำละลาย เวลาที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างข้อก� ำหนดของยาในแต่ละมอโนกราฟ ผู้ใช้ ต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อน โดยทั่วไปจะก� ำหนดการเก็บตัวอย่างเพื่อน� ำไปวิเคราะห์ที่จุดเวลาเดียว เช่น ก� ำหนดให้มีการละลายไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ (Q) ที่เวลา ๒๐ นาที ส� ำหรับยาที่ไม่มีในฟาร์มาโคเปีย ผู้ผลิตต้องพัฒนาวิธีทดสอบการละลายขึ้นมาเองโดยวิธีนั้นเป็นวิธีที่ สามารถบอกความแตกต่างของยาที่มีมาตรฐานกับยาที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรใช้ได้กับยาทุกความแรง ในการ ทดสอบการละลายควรมีการเก็บตัวอย่างที่เวลาต่าง ๆ แล้วน� ำไปวิเคราะห์โดยวิธีที่เหมาะสม เวลาที่เก็บ ตัวอย่าง ความถี่ในการเก็บตัวอย่างขึ้นกับชนิดของยาและอัตราการละลาย ส� ำหรับยาที่ปลดปล่อยทันที ควรเก็บตัวอย่างที่เวลา ๑๐, ๑๕, ๒๐, ๓๐, ๔๕, ๖๐ นาที ส� ำหรับยาที่ละลายช้าอาจตั้งข้อก� ำหนดการละลายที่ ๒ เวลา หรือก� ำหนดเป็นช่วง ๆ ส� ำหรับยาออก ฤทธิ์นาน เมื่อได้ข้อก� ำหนดการละลายแล้ว การทดสอบจริงควรอิงวิธีการทดสอบในฟาร์มาโคเปีย การทดสอบ ครั้งแรกใช้ ๖ หน่วย หากยังไม่ผ่านการยอมรับให้ทดสอบครั้งที่ ๒ อีก ๖ หน่วย หากยังไม่ผ่านอีกให้ทดสอบ ครั้งที่ ๓ อีก ๑๒ หน่วย ดังตารางที่ ๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=