สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การทดสอบการละลายของยาสามัญ 128 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ข้อก� ำหนดการละลายที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ (specification) ควรได้มาจากกราฟการละลายของรุ่นที่ ใช้ศึกษาวิจัยทางคลินิกที่ส� ำคัญ (pivotal clinical studies) หรือรุ่นที่ใช้ศึกษาชีวสมมูล (biobatch) ซึ่ง น� ำมาใช้สนับสนุนข้อก� ำหนดมาตรฐานส� ำหรับการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่ผลิตรุ่นต่อมาจะ มีประสิทธิภาพในร่างกายเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังใช้ในการเปรียบเทียบกราฟการละลายเพื่อขอยกเว้น การศึกษาชีวสมมูลในมนุษย์ ส� ำหรับยากลุ่ม BCS และยาที่ขนาดความแรงต่างกัน ในกรณีที่ยานั้นเคยมี ผลการศึกษาชีวสมมูลในความแรงอื่นแล้ว และใช้เปรียบเทียบเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลัง จากได้รับทะเบียนยาแล้ว การเปรียบเทียบอัตราการละลายของยา อัตราการละลายของยาในเครื่องทดสอบการละลายอาจจัดได้เป็น ๓ ระดับ ดังนี้ ๑. ยาที่ละลายได้เร็วมาก (very rapidly dissolving) หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ยามีการปล่อย ตัวยาส� ำคัญในตัวท� ำละลายได้ร้อยละ ๘๕ หรือมากกว่า ภายในเวลา ๑๕ นาที ๒. ยาที่ละลายได้เร็ว (rapidly dissolving) หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ยามีการปล่อยตัวยาส� ำคัญ ในตัวท� ำละลายได้ร้อยละ ๘๕ หรือมากกว่า ภายในเวลา ๓๐ นาที ๓. ยาที่ละลายได้ช้า (slowly dissolving) หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ยามีการปล่อยตัวยาส� ำคัญ ในตัวท� ำละลายได้น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ภายในเวลา ๓๐ นาที การพิจารณาความเหมือนกันของกราฟการละลายมีหลักดังนี้ [ข้อมูลจากกองควบคุมยา (๒๕๕๒), US Dept. of Health (1997), The European Medicines Agency (2010), (Y Zhang et al., (2010)] ๑. ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ยาอ้างอิงและผลิตภัณฑ์ยาทดสอบละลายได้มากกว่าร้อยละ ๘๕ ภายใน ๑๕ นาที สามารถยอมรับว่ากราฟแสดงการละลายของผลิตภัณฑ์ยาทดสอบเหมือนกับผลิตภัณฑ์ยา อ้างอิง โดยไม่จ� ำเป็นต้องประเมินค่าทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากการละลายเร็วมากนี้ค่าชีวประสิทธิผล ไม่ถูกจ� ำกัดด้วยการละลาย แต่จะขึ้นกับระยะเวลาที่ยาอยู่ในกระเพาะอาหาร เวลาที่ยาอยู่ในกระเพาะอาหาร ประมาณ ๑๕-๒๐ นาทีจะลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง การที่ยาละลายได้เกินร้อยละ ๘๕ ใน ๑๕ นาที จึงเสมือนกับ การกินยาน�้ ำ ไม่มีผลต่อชีวประสิทธิผลของยา ๒. ในการเปรียบเทียบกราฟแสดงการละลายให้ค� ำนวณค่าความเหมือนกัน (similarity factor, f 2 ) ซึ่งค� ำนวณจากลอการิทึมของส่วนกลับของรากที่สองของผลรวมก� ำลังสองของค่าความคลาดเคลื่อน เป็น พารามิเตอร์ที่ใช้วัดความเหมือนในรูปเปอร์เซ็นต์การละลายระหว่างเส้นกราฟทั้งสองที่เปรียบเทียบกัน (๓) } ⎥ ⎦ ⎤ ⎢ ⎣ ⎡ × ⎩ ⎨ ⎧ + × = ∑ = 100 ) - ( n 1 1 log 50 1 2 1 2 2 n t t t TR f

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=