สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมพล ประคองพันธ์ 125 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ layer thickness ถัดจากชั้นฟิล์มจะเป็นสารละลายส่วนใหญ่ที่เป็นเนื้อเดียวกันอยู่รอบ ๆ ความเข้มข้นของ สารละลายจะเท่ากันทุกส่วนเมื่อมีการกวน อัตราการละลายของของแข็งในตัวท� ำละลายเป็นกระบวนการทางจลนศาสตร์ซึ่งเสนอในเชิง ปริมาณเป็นครั้งแรกโดย Noyes and Whitney (1897) ต่อมาได้มีการขยายความโดยใช้กฎการแพร่ข้อ แรกของฟิก (Fick’s first law of diffusion) อาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ (๑) หรือ (๒) ในที่นี้ M คือน�้ ำหนักของตัวถูกละลายที่ออกมาที่เวลา t, dM/dt คืออัตราการละลาย D คือสัมประสิทธิ์ การแพร่ของตัวถูกละลายในสารละลาย A คือ พื้นที่ผิวของตัวถูกละลายที่สัมผัสกับตัวท� ำละลาย h คือ ความหนาของชั้นฟิล์มที่เกิดการแพร่ C s คือ ค่าการละลายของของแข็ง C คือ ความเข้มข้นของตัว ถูกละลายในสารละลายส่วนใหญ่ที่เวลา t และ V คือ ปริมาตรของสารละลาย จากสมการข้างต้น ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการละลายของยา ได้แก่ ๑. สมบัติของตัวยา ๑.๑ ค่าการละลายของยา ตัวยาที่มีค่าการละลายสูงจะละลายได้เร็วกว่ายาที่มีค่าการละลาย ต�่ ำ การเพิ่มค่าการละลายจึงเป็นวิธีเร่งให้ยาละลายเร็วขึ้น การเพิ่มค่าการละลายท� ำได้หลายวิธี เช่น ใช้รูป ผลึกที่เป็นพหุสัณฐานที่มีค่าการละลายสูง แต่ต้องติดตามเมื่อเก็บไว้นานอาจมีการเปลี่ยนรูปผลึกได้ การใช้ อนุภาคละเอียดเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสที่นิยมใช้ หากใช้ในขนาดไมครอนหรือเล็กกว่าจะช่วยเพิ่มขีดการ ละลายได้อีกเล็กน้อย เนื่องจากอนุภาคขนาดจิ๋วมีความโค้งของผงยามากกว่าจึงมีพลังงานเพิ่มขึ้นจากแรง ตึงผิว การใส่สารลดแรงตึงผิวในสูตรยา หากใช้ปริมาณมากพอยังช่วยเพิ่มค่าการละลายของยาที่ละลายน�้ ำ ได้น้อยโดยการเกิดไมเซล แต่ต้องเลือกชนิดและปริมาณของสารลดแรงตึงผิวให้เหมาะสมเพราะสารลดแรง ตึงผิวหลายชนิดมีผลต่อการดูดซึมของยาด้วย ๑.๒ พื้นที่ผิวหรือขนาดอนุภาค อัตราการละลายแปรผันโดยตรงกับพื้นที่ผิวของผงยาที่สัมผัสตัว ท� ำละลาย การใช้อนุภาคยาขนาดเล็กลงในระดับไมโครหรือนาโนเมตรเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการเพิ่มอัตรา การละลาย เพราะนอกจากจะเพิ่มพื้นที่ผิวแล้วยังเพิ่มขีดการละลายได้อีกเล็กน้อย การใส่สารลดแรงตึงผิว จ� ำนวนเล็กน้อยจะช่วยให้ผงยาเปียกน�้ ำได้ดีขึ้น เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวที่สัมผัสตัวท� ำละลาย dM dt AD h (C s - C) dC dt AD Vh (C s - C) = =

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=