สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การทดสอบการละลายของยาสามัญ 124 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ได้จัดแบ่งกลุ่มตัวยาโดยอาศัยค่าการละลายในน�้ ำและสัมประสิทธิ์การซึมผ่านหรือการดูดซึมของตัวยา เรียกว่า การจัดกลุ่มตัวยาตามสมบัติทางชีวเภสัชกรรม (Biopharmaceutics Classification System หรือ BCS) โดยแบ่งตัวยาเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้ ๑. BCS class I: การละลายดี การดูดซึมดี ๒. BCS class II: การละลายไม่ดี การดูดซึมดี ๓. BCS class III: การละลายดี การดูดซึมไม่ดี ๔. BCS class IV: การละลายไม่ดี การดูดซึมไม่ดี ในที่นี้ การละลายดี หมายความว่า ตัวยาในขนาดความแรงสูงสุดที่มีจ� ำหน่ายหรือขนาดสูงสุดในรายการ ยาจ� ำเป็นขององค์การอนามัยโลก ละลายได้หมดในน�้ ำ ๑ แก้ว (ประมาณ ๒๔๐-๒๕๐ มิลลิลิตร) ที่ ๓๗ + ๑ o C ในตัวท� ำละลายที่ pH ๑.๒, ๔.๕ และ ๖.๘ ส่วนการดูดซึมดี หมายความว่า มีชีวประสิทธิผล (bioavailability) ร้อยละ ๘๕ ขึ้นไป หรือได้จากการค� ำนวณสมดุลของมวลยาที่ถูกดูดซึม การละลายดีหรือไม่อาจพิจารณาได้จากค่า Dose/Solubility ratio หากได้ค่าต�่ ำกว่า ๒๕๐ ลงมา ก็ถือว่าละลายดี ส่วนการดูดซึมดีหรือไม่หากไม่มีข้อมูลชีวประสิทธิผลของยา อาจใช้ข้อมูลสนับสนุนจาก การซึมผ่านทางล� ำไส้ของสารอ้างอิงที่ทราบว่ามีการซึมผ่านอย่างน้อยร้อยละ ๘๕ โดยวิธีที่เป็นทางเลือกอื่น เช่นการเปรียบเทียบการซึมผ่านผนังล� ำไส้ของคนหรือสัตว์ การซึมผ่าน Caco-2 cell หรือค่าสัมประสิทธิ์ การซึมผ่าน (permeability coefficient) ในสัตว์ทดลอง หรือประมาณได้จากค่าสัมประสิทธ์การแบ่งภาค (partition coefficient) การจัดกลุ่มยาตามหลัก BCS นี้ มีประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา การพัฒนาวิธีทดสอบ การละลายของยา และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาชีวสมมูลโดยยกเว้นการศึกษาในคนได้ อัตราการละลายของยา ทฤษฎีการละลายที่ใช้ในการสร้างแบบจ� ำลองทางคณิตศาสตร์อธิบายการละลายของยาชนิดปลด ปล่อย/ละลายยาทันทีและชนิดออกฤทธิ์นานมีหลายทฤษฎี กระบวนการละลายอย่างง่ายสามารถอธิบาย ได้โดยแบบจ� ำลองการแพร่ (Diffusion layer model) ดังนี้ เมื่อผิวของผงยาสัมผัสกับตัวท� ำละลายจะเกิด ฟิล์มของเหลวที่อยู่นิ่งติดกับผิวของแข็ง โมเลกุลที่ผิวของแข็งจะเกิดปฏิกิริยากับตัวท� ำละลาย (interfacial reaction) ละลายออกมา หากปฏิกิริยาเกิดเร็วจะเป็นสารละลายอิ่มตัวทันทีที่ผิวผงยา จากนั้นจะเกิด การแพร่ของโมเลกุลที่ละลายแล้วจากด้านที่มีความเข้มข้นสูง (คือค่าการละลาย) ที่ผิวของแข็งไปยัง ด้านที่มีความเข้มข้นต�่ ำกว่า (มีความเข้มข้นเท่ากับสารละลายส่วนใหญ่) ในชั้นฟิล์มหรือชั้นที่เกิดการแพร่ มีความลาดลงของความเข้มข้น (concentration gradient) ความหนาของชั้นฟิล์มนี้เรียกว่า diffusion

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=