สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมพล ประคองพันธ์ 123 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ละลายหรืออัตราการละลายของยาในทางเดินอาหาร และการซึมผ่านผนังทางเดินอาหาร การละลาย ของยาในทางเดินอาหารในร่างกายเป็นขั้นตอนส� ำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการท� ำงานของยาในร่างกาย ผลิตภัณฑ์ที่มีการละลายในร่างกาย (in vivo) เหมือนกันมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชีวสมมูล การศึกษาชีวสมมูลโดยทั่วไปมักจะเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ยาในคน แต่เป็นวิธีที่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายสูง จึงมีความพยายามที่จะหาวิธีเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องทดสอบในคนแต่สามารถบ่งบอกถึงความ เท่าเทียมกันของยาในด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพได้ การทดสอบการละลายของยาสามัญจึงบ่ง ชี้ว่าจ� ำเป็นต้องทดสอบในคนหรือไม่ ช่วยลดการทดสอบยาในคนโดยไม่จ� ำเป็น ดังนั้น ข้อมูลการศึกษาการ ละลายของยาจึงถูกน� ำมาใช้ในทุกขั้นตอนตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ยา วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อรวบรวมการประยุกต์ใช้การทดสอบการละลายของยาในระยะต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเลิกจ� ำหน่าย เริ่มตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ ยาสามัญกับยาต้นแบบในการศึกษาชีวสมมูล การควบคุมคุณภาพยา การพัฒนากระบวนการผลิต การก� ำหนดอายุการใช้ การขึ้นทะเบียนยา และเมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในการผลิตยา บทความนี้ จะจ� ำกัดเฉพาะยาสามัญที่เป็นของแข็งที่ใช้รับประทาน ค่าการละลายหรือขีดการละลายของยา (solubility) เมื่อใส่ของแข็งปริมาณมากเกินพอในตัวท� ำละลาย โมเลกุลของของแข็งจะหลุดจากผิวกลายเป็น สารละลาย และมีการละลายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดสมดุลซึ่งก็คือจุดสารละลายอิ่มตัว ความเข้ม ข้นของสารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิหนึ่ง ๆ ก็คือค่าการละลายของสารในตัวท� ำละลายนั้นที่อุณหภูมิทดสอบ ค่าการละลายของตัวยาในตัวท� ำละลายต่าง ๆ เป็นประโยชน์ในการเตรียมยา การพัฒนาสูตรต� ำรับ ยาที่มี ค่าการละลายในน�้ ำสูงจะเป็นยาที่มีอัตราการละลายเร็วจึงมีผลต่ออัตราเร็วและปริมาณที่ยาเข้าสู่ร่างกาย และส่งผลต่อประสิทธิภาพการท� ำงานของยาในร่างกาย ค่าการละลายของตัวยาขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น สมบัติการชอบน�้ ำหรือไขมันของตัวยา ขนาดโมเลกุล รูปผลึก ชนิดของเกลือ การแตกตัวเป็นไอออนของตัวยา ขนาดอนุภาคผงยา ชนิดของตัวท� ำ ละลาย ความหนืด อุณหภูมิ pH หลักการจัดกลุ่มตัวยาตามสมบัติทางชีวเภสัชกรรม ส� ำหรับยาที่ละลายในน�้ ำได้ทันทีอัตราเร็วของการละลายและอัตราเร็วในการซึมผ่านผนังทางเดิน อาหารเป็นตัวก� ำหนดอัตราเร็วและปริมาณของยาที่เข้าสู่ร่างกายซึ่งเรียกว่า ชีวประสิทธิผลของยา หากอัตราการละลายของยาช้ากว่าอัตราการดูดซึมจะเกิดการดูดซึมน้อยลง การดูดซึมที่ช้าเนื่องจากการ ละลายช้าก็ท� ำให้ความเข้มข้นสูงสุดของยาในเลือดลดลงเช่นกัน ชีวประสิทธิผลของยารับประทานจึงขึ้นกับ ค่าการละลาย สัมประสิทธิ์การซึมผ่านของตัวยาและอัตราการละลายของผลิตภัณฑ์ยา Amidon et al. (1995)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=