สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ และ ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ 119 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ ผลจากงานวิจัย ผลงานการวิจัยข้างต้นน� ำไปสู่การสร้างโรงคัดแยกขยะและโรงหมักขยะ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขนาด ประมาณ ๕ ตันต่อวัน โดยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ใช้เงินลงทุนประมาณ ๑๐ ล้านบาท ด� ำเนินการมาแล้วประมาณ ๑ ปี สามารถน� ำรายได้จากปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ จ� ำหน่ายให้แก่หน่วย งานภายในมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้ปุ๋ย โดยมีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการด� ำเนินงาน สิ่งที่เหลือจาก การคัดแยกปุ๋ยออกไปแล้วคือขยะถุงพลาสติก ซึ่งแต่เดิมมีโรงงานรับซื้อเพื่อน� ำไปเป็นเชื้อเพลิงส� ำหรับเผา แต่ปัจจุบันไม่สามารถขายได้ราคา อาจนับได้ว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ในประเทศไทย ที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยการก� ำจัดขยะภายในมหาวิทยาลัยด้วยตัวเอง โดยไม่ให้ขยะ เล็ดลอดออกจากมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ก� ำลังด� ำเนินการก่อสร้างโรงคัดแยก ขยะขั้นต้น และโรงหมักขยะ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขนาดประมาณ ๒๐ ตันต่อวัน ตามนโยบาย Green and Smart Campus ใช้เงินลงทุนประมาณ ๒๐ ล้านบาท เมื่อหมักได้ที่แล้ว จะคัดแยกปุ๋ยอินทรีย์ออก ส่วน ที่เหลือจากการคัดแยกส่วนใหญ่จะเป็นถุงพลาสติก ซึ่งค่อนข้างสะอาดเมื่อเปรียบเทียบกับตอนก่อนหมัก พลาสติกที่ค่อนข้างสะอาดนี้สามารถน� ำไปใช้ท� ำเม็ดพลาสติกเก่า และสามารถจ� ำหน่ายได้ คาดว่าจะแล้ว เสร็จและสามารถด� ำเนินการได้ภายในปีนี้ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองในประเทศ ที่มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ในการก� ำจัดขยะภายในมหาวิทยาลัยของตัวเอง ส� ำหรับการผลิตไฟฟ้าถ้าเป็นจากขยะ ขนาดก� ำลังผลิตที่จะมีความคุ้มค่าในการลงทุนต้องมีปริมาณ ขยะมากกว่า ๑๐๐ ตันต่อวัน หรือถ้าเป็น ๓๐๐ ตันต่อวันก็ยิ่งดี ขยะในปริมาณขนาดนี้มีอยู่ไม่กี่สิบแห่งใน ประเทศไทย นอกจากนี้รัฐต้องมีส่วนช่วยเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ในการขอใบอนุญาต ปัจจุบันยังเป็นปัญหา ขอได้ยาก และใช้เวลานาน ประเด็นสุดท้ายคือ เรื่องส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ ปัจจุบันอยู่ ที่ ๒.๕๐ บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง หากให้สูงกว่านี้ โดยให้เป็นธรรมแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าด้วย ก็จะสร้างแรงจูงใจให้ เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐลงทุนเพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอแนะประเด็นเชิงนโยบายส� ำหรับการจัดการขยะมูลฝอย จากการศึกษานี้ ผู้วิจัยสามารถเสนอแนะประเด็นเชิงนโยบายส� ำหรับการจัดการขยะมูลฝอย ไม่รวม ถึงขยะอันตราย ดังนี้ ๑. เน้นการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และใช้ประโยชน์จากขยะให้มากที่สุด ๒. เน้นการคัดแยกขยะที่สามารถน� ำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะที่ต้นทางหรือแหล่งก� ำเนิดขยะ ๓. ในกรณีที่มีปริมาณขยะน้อยกว่า ๑๐๐ ตันต่อวัน ควรเน้นการจัดการขยะโดยวิธีการผลิตปุ๋ย อินทรีย์ ไม่ควรน� ำมาผลิตไฟฟ้า เพราะมีต้นทุนสูงเกินไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=