สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ประเด็นเชิงนโยบายส� ำหรับการจัดการขยะเทศบาลและขยะมหาวิทยาลัย 118 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 เนื่องจากยังมีปัญหาต่าง ๆ ในการจัดการขยะ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากขยะด้วย ดังนั้น ในบทความนี้ จึงศึกษารวบรวมผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการขยะเทศบาลขนาดเล็ก หรือขยะจากมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับทุนจากส� ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รวมถึงบทสรุปจากการสัมมนา เรื่อง ศักยภาพ การผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาลและมหาวิทยาลัย จัดโดยส� ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ แล้วสรุปเป็นแนวทางที่ เหมาะสม รวมถึงเสนอแนะเชิงนโยบายส� ำหรับการจัดการและการใช้ประโยชน์จากขยะด้วย การศึกษานี้ ไม่รวมถึงขยะอันตราย เช่น ขยะติดเชื้อ ขยะมีพิษจากสารเคมี ซึ่งต้องใช้วิธีการจัดการที่แตกต่างกัน ผลงานการวิจัยหาแนวทางการจัดการขยะเทศบาลและขยะมหาวิทยาลัย ส� ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้ทุนวิจัยแก่กลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ให้ศึกษา หาแนวทางที่เหมาะสมในการก� ำจัดขยะ รวมถึงศึกษาศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วย [จิตเทพ ประสิทธิ์อยู่ศีล (๒๕๕๗) ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ (๒๕๕๕) วัสสา คงนคร (๒๕๕๕) วีรชัย อาจหาญ (๒๕๕๔) สมรัฐ เกิดสุวรรณ (๒๕๕๕) สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ (๒๕๕๗) สุขสมาน สังโยคะ (๒๕๕๔) อาณัติ ต๊ะปินตา (๒๕๕๕)] จากการศึกษาพบว่า ปริมาณขยะประมาณ ๕-๒๐ ตันต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณ ที่ถือว่าน้อย ไม่คุ้มค่าที่จะน� ำขยะมาผลิตไฟฟ้า เนื่องด้วยก� ำลังการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ในระดับต�่ ำกว่า ๑ เมกะวัตต์ ท� ำให้มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยสูง นอกจากนี้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก มักจะ เป็นระบบแกซิฟิเคชัน (gasification) ที่ผลิตแก๊สสังเคราะห์ แล้วน� ำมาใช้กับเครื่องยนต์เพื่อผลิตไฟฟ้า โดยใช้เครื่องก� ำเนิดไฟฟ้าต่อไป ระบบนี้ยังมีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา ท� ำให้ขาดเสถียรภาพในการ เดินเครื่องยนต์ มีปัญหาและค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลซ่อมแซมระบบ แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะในระดับ ๕-๒๐ ตันต่อวันคือการคัดแยกขยะที่ต้นทางหรือ แหล่งก� ำเนิด แล้วรวบรวมมาที่โรงคัดแยกขยะขั้นต้น เพื่อน� ำขยะที่คัดแยกได้ง่ายและขายได้ ออกจากขยะ ส่วนใหญ่ จากนั้นจึงน� ำขยะที่เหลือซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ (มีถุงพลาสติกปนอยู่ด้วย) มาหมักโดยมีการ เติมอากาศให้เพียงพอ ซึ่งอาจเติมได้หลายวิธี เช่น การใช้สกรูในแนวดิ่ง ซึ่งติดตั้งอยู่ภายในกองขยะที่ท� ำการ หมัก ล� ำเลียงขยะจากส่วนล่างของกองขึ้นสู่ด้านบน เพื่อให้สัมผัสอากาศ หรือโดยการเป่าอากาศผ่านระบบ ท่อใต้พื้นของกองขยะ และเติมสารอาหาร เช่น กากน�้ ำตาล ให้แก่จุลินทรีย์ การหมักโดยใช้อากาศจะใช้ เวลาประมาณ ๑๕-๓๐ วัน หลังการหมักจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีสีเทาด� ำ เมื่อน� ำไปคัดแยก สามารถน� ำไปใช้ใน การเพาะปลูกได้ดี การหมักโดยใช้อากาศมีข้อดีเพิ่มเติมคือไม่มีกลิ่นเหม็นจากกองขยะ เมื่อหมักจนได้ที่แล้ว น� ำมาคัดแยกเอาปุ๋ยอินทรีย์ออก ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก ซึ่งค่อนข้างสะอาดเมื่อเปรียบเทียบ กับตอนก่อนหมัก พลาสติกที่ค่อนข้างสะอาดนี้สามารถน� ำไปใช้ท� ำเม็ดพลาสติกเก่า และสามารถจ� ำหน่าย ได้ หรืออาจน� ำไปขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงและมีความต้องการใช้พลาสติก เพื่อเผาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน หรือน� ำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลว ในกรณีหลังนี้ ยังมีต้นทุนสูงอยู่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=