สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ และ ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ 117 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ บทน� ำ ขยะมูลฝอย ในที่นี้เรียกสั้น ๆ ว่า ขยะ ภาษาที่ใช้ในกฎหมายเรียก มูลฝอย จะเรียกอย่างไรก็เป็นที่ เข้าใจตรงกัน ขยะเป็นของเหลือทิ้งที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมเมืองปัจจุบัน และมีปัญหาในการก� ำจัด ขยะ มีปริมาณโดยเฉลี่ย ๑ กิโลกรัมต่อคนต่อวัน มีความชื้นสูงกว่าร้อยละ ๕๐ มีองค์ประกอบโดยส่วนใหญ่ เป็นขยะอินทรีย์ ประมาณร้อยละ ๕๐ รองลงมา ได้แก่ พลาสติก กระดาษ เศษผ้า โลหะ แก้ว และอื่น ๆ ในปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณขยะมากกว่า ๔๐,๐๐๐ ตันต่อวัน ปริมาณขยะจาก อบต. หรือเทศบาล ขนาดเล็ก หรือขยะจากมหาวิทยาลัย มักอยู่ในช่วง ๕-๒๐ ตันต่อวัน ปริมาณขยะที่มากกว่า ๑๐๐ ตันต่อวัน มีเฉพาะในเมืองใหญ่เท่านั้น ซึ่งมีอยู่ไม่กี่สิบแห่งในประเทศไทย ในการก� ำจัดขยะโดยทั่วไปในประเทศไทย มักมีการคัดแยกขยะบางประเภทที่สามารถน� ำไปขายได้ โดยผู้มีอาชีพเก็บขยะขาย แล้วจึงมีการรวบรวม น� ำไปเทกองเป็นส่วนใหญ่ มากกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ถูกสุขลักษณะ ก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขอนามัย รองลงมา ใช้วิธีการฝังกลบ แต่อาจไม่ถูกสุขลักษณะเช่นกัน และอาจก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม มีปริมาณขยะจ� ำนวนน้อยที่น� ำมาเผาไหม้และน� ำมาผลิตไฟฟ้า รวมก� ำลังการผลิตทั่วประเทศประมาณ ๓๕ เมกะวัตต์ วิธีการจัดการขยะในที่นี้เน้นขยะชุมชน ไม่รวมขยะอันตราย เช่น ขยะติดเชื้อ ขยะมีพิษจากสารเคมี ซึ่งต้องการวิธีการก� ำจัดเฉพาะเจาะจง การจัดการขยะชุมชนมีหลายวิธี วิธีที่สร้างปัญหาแต่ยังมีการปฏิบัติ กันอยู่ เช่น เทกอง เผากลางแจ้ง เป็นวิธีการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิธีที่เหมาะ สมในการจัดการขยะมีหลายวิธี เช่น ๑. การฝังกลบขยะ ซึ่งอาจออกแบบให้ผลิตแก๊สชีวภาพ เพื่อน� ำมาเดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตไฟฟ้า ประเทศไทยมีการจัดการขยะโดยวิธีฝังกลบมากพอสมควร รองลงมาจากการเทกอง ๒. การเผาไหม้ขยะ ซึ่งอาจออกแบบให้น� ำแก๊สเผาไหม้มาใช้ต้มน�้ ำเพื่อน� ำมาผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันมีการใช้วิธีการนี้อยู่บ้าง โดยมีก� ำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันทั่วประเทศประมาณ ๓๕ เมกะวัตต์ เช่น ที่ภูเก็ต ระยอง เกาะสมุย ๓. การผลิตแก๊สสังเคราะห์จากขยะ เพื่อน� ำมาเดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตไฟฟ้า วิธีการนี้ยังไม่ สามารถพัฒนาเป็นการค้าได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะยังมีปัญหาในการดูแลรักษาระบบอยู่มาก ๔. การน� ำขยะ (อินทรีย์) มาหมัก เพื่อผลิตแก๊สชีวภาพ และสามารถน� ำมาเดินเครื่องยนต์เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า ๕. การใช้พลาสมาอาร์ก เพื่อเผาไหม้ขยะ มีอุณหภูมิสูงมาก (ประมาณ ๓,๐๐๐ องศาเซลเซียส) มีต้นทุนสูง เหมาะกับขยะติดเชื้อ ซึ่งต้องการวิธีการก� ำจัดที่เฉพาะเจาะจง ๖. การหมักขยะ (อินทรีย์) โดยใช้อากาศ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=