สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 ประเด็นเชิงนโยบายส� ำหรับการจัดการ ขยะเทศบาลและขยะมหาวิทยาลัย สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บทคัดย่อ ขยะเป็นของเหลือทิ้งที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมเมืองปัจจุบัน และมีปัญหาในการก� ำจัด จากการศึกษาโดยนักวิจัยหลายกลุ่มพบว่า ปริมาณขยะเทศบาลและขยะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ อยู่ที่ประมาณ ๕-๒๐ ตันต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ถือว่าน้อย ไม่คุ้มค่าที่จะน� ำขยะมาผลิตไฟฟ้า เนื่อง ด้วยก� ำลังการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ในระดับต�่ ำกว่า ๑ เมกะวัตต์ แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะใน ระดับนี้คือ การคัดแยกขยะที่ต้นทางหรือแหล่งก� ำเนิด แล้วรวบรวมมาที่โรงคัดแยกขยะขั้นต้น เพื่อ น� ำขยะที่คัดแยกได้ง่ายและขายได้ ออกจากขยะส่วนใหญ่ จากนั้นจึงน� ำขยะที่เหลือซึ่งส่วนใหญ่ เป็นขยะอินทรีย์ มาหมักโดยมีการเติมอากาศให้เพียงพอ เมื่อหมักจนได้ที่แล้ว น� ำมาคัดแยกเอา ปุ๋ยอินทรีย์ออก ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก ซึ่งค่อนข้างสะอาดเมื่อเปรียบเทียบกับตอน ก่อนหมัก พลาสติกที่ค่อนข้างสะอาดนี้สามารถน� ำไปใช้ท� ำเม็ดพลาสติกเก่า และสามารถจ� ำหน่ายได้ หรืออาจน� ำไปขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และมีความต้องการใช้พลาสติก เพื่อเผาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน หรือน� ำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลว ในกรณีหลังนี้ ยังมีต้นทุนสูงอยู่ ค� ำส� ำคัญ : การจัดการ, การผลิตไฟฟ้า, การหมักปุ๋ย, ขยะชุมชน, มูลฝอย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=