สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย, วิเชียร โสมณวัฒน์ และ ชินพัฒน์ บัวชาติ 5 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ Zhou และคณะ (Zhou et al., 2010: 2315-2338) ได้ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี SCPP ไว้ ซึ่งเหมาะส� ำหรับผู้ที่สนใจหรือนักวิจัยที่จะพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี SCPP บทความของ Zhou และคณะ ได้กล่าวถึงที่มาและรายละเอียดของเทคโนโลยี SCPP พฤติกรรมการไหลเวียน ของอากาศซึ่งถูกท� ำให้ร้อนที่ส่วนรวบรวมพลังงานและไหลผ่านกังหันผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ตัวปล่องลม นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมความก้าวหน้าในการศึกษาเทคโนโลยี SCPP โดยได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ การศึกษาในเชิง ทฤษฎีและการทดสอบในเชิงปฏิบัติการทดลองตามล� ำดับ การศึกษาด้านการคุ้มค่าในการลงทุนและรูปแบบ อื่น ๆ ของเทคโนโลยี SCPP ได้รับการรวบรวมและน� ำเสนอ บทความของ Zhou และคณะนั้นถือว่าเป็น ประโยชน์อย่างมากในส่วนของภาพรวมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี SCPP Nizetic และคณะ (Nizetic et al., 2008: 1680-1690) ได้วิเคราะห์และศึกษาถึงความเป็นไปได้ ส� ำหรับเทคโนโลยี SCPP ในพื้นที่แถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยได้เลือกเมือง ๒ เมืองในแถบชายฝั่งของ ประเทศโครเอเชียเป็นกรณีศึกษา โครงสร้าง SCPP ที่ใช้ในการวิเคราะห์มีส่วนรวบรวมพลังงานขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑,๒๕๐ เมตร และโครงสร้างของปล่องลมมีความสูง ๑,๒๕๐ เมตร จากการศึกษาพบว่า ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นมีมากกว่าความต้องการโดยเฉลี่ยต่อปี อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี SCPP นี้จะมี ความคุ้มค่าหรือก� ำไรในระยะยาว ต่อมา Hamdan (Hamdan, 2011: 2593-2598) ได้วิเคราะห์ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี SCPP ในอ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) โดยใช้แบบจ� ำลองทางด้านเทอร์โมไดนามิกส์ อย่างง่าย จากการศึกษาพบว่า ความสูงของปล่องลมและเฮดความดัน (pressure head) ที่กังหันผลิตไฟฟ้า นั้นมีความส� ำคัญอย่างมากในการออกแบบโครงสร้าง SCPP ในขณะเดียวกัน Larbi และคณะ (Larbi et al., 2010: 470-477) ได้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของ SCPP ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศแอลจีเรีย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งพัฒนาจากทฤษฎีพลศาสตร์ของของไหล จากการศึกษาพบว่า ปริมาณไฟฟ้า ที่ได้จากเทคโนโลยี SCPP นั้นเพียงพอแก่ความต้องการในบริเวณที่ศึกษา และเมื่อไม่นานมานี้ Asnaghi และคณะ (Asnaghi and Ladjevardi, 2012: 3338-3390) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของ SCPP ในประเทศ อิหร่าน โดยเลือกบริเวณที่ท� ำการศึกษาจ� ำนวน ๑๒ แห่งด้วยกัน ระเบียบวิธีไฟไนต์วอลุมได้ถูกน� ำมาใช้ใน การวิเคราะห์ภายใต้สมมุติฐานของการไหลแบบอัดตัวไม่ได้ของอากาศภายใน SCPP ผลจากการศึกษาพบว่า ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นเพียงพอแก่ความต้องการในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ ในส่วนของบริเวณรวบรวม พลังงานนั้นก็สามารถใช้ในการเกษตรได้อีกทางหนึ่ง Onyango และคณะ (Onyango and Ochieng, 2006: 2561-2566) ได้ศึกษาถึงศักยภาพของเทคโนโลยี SCPP ในเขตพื้นที่ชนบทของกลุ่มประเทศที่ก� ำลัง พัฒนา ซึ่งจากแบบจ� ำลองทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นพบว่า หากใช้ปล่องลมที่มีความสูง ๑๕๐ เมตร และ รัศมี ๑.๕ เมตร พร้อมกับความสูงของส่วนรวบรวมพลังงาน ๑.๕ เมตร จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอ ส� ำหรับ ๕๐ ครัวเรือนในพื้นที่ชนบท

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=