สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สายชล เกตุษา 107 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘ เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ผักและผลไม้ตัดแต่งยังเป็นสินค้าส่งออกที่น� ำรายได้เข้าประเทศ มากอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้เขตร้อนของประเทศ เช่น มะละกอ มะม่วง สับปะรด ซึ่งเป็นที่นิยม มากในตลาดต่างประเทศ ในภาพรวม ผักและผลไม้ตัดแต่งมีประโยชน์หลายอย่างคือ ๑. ประหยัดเวลาในการเตรียม ๒. สะดวกแก่การรับประทาน ๓. มีคุณค่าทางโภชนาการ ๔. ลดความเสี่ยงของคุณภาพภายในที่ไม่ดี ท� ำไมต้องมีการท� ำผักและผลไม้ตัดแต่ง แม้ว่าผักและผลไม้สดหลายชนิดเป็นที่นิยมบริโภค แต่มีผักและผลไม้บางชนิดเท่านั้นที่มี คุณสมบัติเหมาะสมส� ำหรับการท� ำผักและผลไม้ตัดแต่ง ผลไม้หลายชนิดในประเทศไทยที่เหมาะสมส� ำหรับ การท� ำผลไม้ตัดแต่งนั้นอาจจะมีหลักการที่พิจารณาแตกต่างไปจากในต่างประเทศประเด็นส� ำคัญที่น� ำมา พิจารณาประกอบการท� ำผักและผลไม้ตัดแต่ง คือ ๑. ขนาดใหญ่ ผลไม้หลายชนิดมีขนาดใหญ่มากเกินไปที่จะซื้อมาบริโภคให้หมดในเวลาสั้น และ ยังท� ำให้มีราคาแพงเกินไปที่จะซื้อทั้งผลอีกด้วย เช่น ขนุน ทุเรียน มะละกอ สับปะรด ดังนั้น การท� ำ ผลไม้ตัดแต่งและบรรจุในปริมาณประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ กรัม จึงเป็นขนาดที่เหมาะและราคาไม่สูงมากเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อผลไม้ทั้งผล ๒. การปอกยาก ผักและผลไม้ เช่น แคร์รอต ขนุน ทุเรียน สับปะรด สละ การเตรียมท� ำได้ ยาก เช่น การปอก การผ่า การตัด ผู้บริโภคมีเวลาจ� ำกัดหรืออาจจะไม่มีความช� ำนาญในการเตรียมผลิตผล ดังกล่าว และอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย เช่น หนามทุเรียนต� ำมือ มีดบาดมือ ดังนั้น การซื้อผักและผลไม้ ตัดแต่งจะประหยัดเวลาและปลอดภัยจากอุบัติเหตุในการเตรียม ๓. ความแก่ของผลไม้ไม่แน่นอน ผู้บริโภคบางคนไม่ได้เป็นชาวสวนหรือผู้มีความช� ำนาญ ในการดูความแก่หรือความบริบูรณ์ของผลไม้ที่เหมาะสมส� ำหรับการบริโภค ตัวอย่างผลไม้ที่มีปัญหาในการ ดูความแก่หรือการสุก คือ ขนุน แตงโม ทุเรียน สับปะรด ดังนั้น เมื่อน� ำผลไม้เหล่านี้มาท� ำผลไม้ตัดแต่ง ก็จะท� ำให้เห็นคุณภาพของเนื้อผลง่ายและชัดเจน จึงท� ำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลไม้ตัดแต่งได้ง่ายโดย ไม่ต้องค� ำนึงว่าผลไม้จะไม่แก่หรือไม่สุก ซึ่งสามารถป้องกันความผิดหวังที่จะเกิดขึ้นหลังการซื้อได้ ๔. โรคและแมลงภายใน ผักและผลไม้บางชนิดมีโรคและแมลงแฝงอยู่ภายใน ซึ่งท� ำให้ ผู้บริโภคไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก เมื่อผู้บริโภคซื้อผลไม้ทั้งผลอาจจะเสี่ยงต่อการที่ผลไม้มีโรคและ แมลงอยู่ภายใน ซึ่งอาจจะท� ำให้เสียหายทั้งผลหรือเสียหายบางส่วนส� ำหรับการบริโภค การซื้อผักและผล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=