สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
น�้ ำ : ความมหัศจรรย์จากจักรวาลสู่โมเลกุลและจากโมเลกุลสู่ชีวิตและสุขภาพ 94 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 1 January-March 2015 แต่จับเป็นกลุ่มก้อนตะกอนแบบอสัณฐาน (amorphous) นอกจากนี้ ยังมีการทดลองที่มีผลน่าอัศจรรย์ของ ความเกี่ยวพันระหว่างรูปร่างผลึกน�้ ำกับการปฏิบัติต่อน�้ ำด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้เสียงดนตรี การสวดมนต์ การเขียนตัวอักษรที่มีความหมายต่าง ๆ การพูดต่อหน้าน�้ ำด้วยอารมณ์ที่มีความหมายต่างกัน เช่น ความรัก การเอาใจใส่ การขอบคุณ การมีความสุข ล้วนมีผลต่อรูปร่างผลึกของน�้ ำในทางรูปร่างสวยงาม สมส่วนทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นอารมณ์ขี้อิจฉาริษยา โกรธแค้นชิงชัง ความเครียดความกดดัน การใช้เสียงดนตรีประเภทเสียง กระแทกกระทั้นรุนแรง เช่น เพลงฮาร์ดร็อก ก็มีผลต่อน�้ ำ คือท� ำให้ผลึกน�้ ำมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อใจของเราเจือด้วยความคิด เจตนาในการกระท� ำการใด ๆ ก็จะส่งผลต่อน�้ ำด้วยเช่นกัน น�้ ำจึงเป็น เสมือนตัวกลางที่รับข้อมูลที่จับต้องไม่ได้ และแปรสภาพออกมาเป็นรูปร่างผลึกที่แตกต่างกัน ดร.มาซารุ เอโมโตะ ได้เขียนหนังสือชื่อว่า Message From Water แสดงผลว่า น�้ ำสะอาด น�้ ำที่ได้รับข้อมูลมาจาก ความคิดที่ดี ๆ จะมีรูปผลึกหกเหลี่ยมที่สวยงาม ส่วนน�้ ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อน หรือแม้เป็นน�้ ำสะอาด หากได้รับข้อมูลที่ไม่ดี จะมีรูปร่างที่ไม่สมดุล ไม่สวยงาม หรือไม่ปรากฏเป็นผลึกแต่อย่างใด การค้นพบนี้ ยังหาข้ออธิบายทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ แต่ได้สะท้อนให้เรารับทราบว่า น�้ ำที่มีโมเลกุลประกอบด้วยไฮโดรเจน ๒ อะตอม สร้างพันธะโคเวเลนต์รอบออกซิเจน ๑ อะตอมนั้นมีความมหัศจรรย์เกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจถึง ธรรมชาติของน�้ ำได้ทั้งหมด ผลงานหนังสือเล่มนี้ท� ำให้ ดร.มาซารุ เอโมโตะ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่องน�้ ำ ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย คณะผู้เขียนบทความนี้ได้มีโอกาสพบสนทนาและศึกษาติดตามงานวิจัย ของ ดร.มาซารุ เอโมโตะ โดยได้ร่วมทดสอบน�้ ำในประเทศไทยด้วย ข้อมูลน�้ ำเชิงลึกที่ใช้วิทยาศาสตร์และอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ การศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการอธิบายด้านประโยชน์ของน�้ ำต่อสุขภาพร่างกายคือ การศึกษาระดับเซลล์ น�้ ำเป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์ คือมีน�้ ำอยู่ร้อยละ ๘๕ โปรตีนร้อยละ ๑๐ ไขมัน ร้อยละ ๒ สารอนินทรีย์ร้อยละ ๑.๕ และองค์ประกอบอื่นอีกร้อยละ ๑.๕ โดยประมาณ องค์ประกอบอื่น ๆ ส่วนมากแล้วจะแขวนลอยอยู่ในน�้ ำหรือละลายอยู่ในน�้ ำ เซลล์ซึ่งมีเยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวกั้นกลาง แบ่งที่อยู่น�้ ำ ในร่างกายเป็นแหล่งสถิต ๒ แหล่งคือ น�้ ำที่อยู่ภายในเซลล์ (intracellular water, ICW) และน�้ ำที่อยู่ ภายนอกเซลล์ (extracellular water, ECW) เยื่อหุ้มเซลล์จึงมีบทบาทหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนสารที่ละลาย อยู่ในน�้ ำระหว่างภายในกับภายนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีหน้าที่หลัก ๔ ประการ ดังนี้ ๑. ห่อหุ้มเซลล์ให้คงรูปร่างอยู่ได้ ๒. ควบคุมสิ่งที่อยู่ภายในที่เป็นประโยชน์ในการยังชีพ ให้คงอยู่ภายในเซลล์ และให้ของเสีย ที่ไม่เป็นประโยชน์ผ่านออกนอกเซลล์ไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=