สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
73 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ระดับสะเอว ชูส่ายสลับขึ้นสลับลงช้า ๆ เรียกว่า ร� ำท่ากวางเดินดง” (ธนิต อยู่โพธิ์ ศิลปะละคอนร� ำหรือ คู่มือนาฏศิลปไทย ๒๕๑๖) กวางเดินดงใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ดังนี้ กวางเดินดง น. ชื่อท่าร� ำ แบบหนึ่ง โดยนิ้วชี้กับนิ้วกลางตั้งขึ้น หักข้อมือขึ้น ส่วนนิ้วหัวแม่มือกดทับปลายนิ้วนางกับนิ้วก้อย หรือ มักเรียกว่า มือกวาง โดยใช้ประกอบกิริยาท่าทางของกวางตามลักษณะรูปเท้าของกวางที่เป็นกีบคู่ บทเพลงแม่บททั้ง ๒ แบบ มีเนื้อร้องดังนี้ แม่บทใหญ่ เทพประนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาช้านางนอน ผาลาเพียงไหล่พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อนแขกเต้าเข้ารัง กระต่ายชมจันทร์จันทร์ทรงกลด พระรถโยนสารมารกลับหลัง เยื้องกรายฉุยฉายเข้าวัง มังกรเรียกแก้วมุจลินท์ กินนรร� ำซ�้ ำช้างประสานงา ท่าพระรามาก่งศิลป์ ภมรเคล้ามัจฉาชมวาริน หลงใหลได้สิ้นหงส์ลินลา ท่าโตเล่นหางนางกล่อมตัว ร� ำยั่วชักแป้งผัดหน้า ลมพัดยอดตองบังพระสุริยา เหราเล่นน�้ ำบัวชูฝัก นาคาม้วนหางกวางเดินดง พระนารายณ์ฤทธิรงค์ขว้างจักร ช้างหว่านหญ้าหนุมานผลาญยักษ์ พระลักษมณ์แผลงอิทธิ์ฤทธี กินนรฟ้อนฝูงยูงฟ้อนหาง ขัดจางนางท่านายสารถี ตระเวนเวหาขี่ม้าตีคลี ตีโทนโยนทับ งูขว้างค้อน ร� ำกระบี่สี่ท่าจีนสาวไส้ ท่าชะนีร่ายไม้ทิ้งขอน เมขลาล่อแก้วกลางอัมพร กินนรเลียบถ�้ ำหนังหน้าไฟ ท่าเสือท� ำลายห้างช้างท� ำลายโรง โจงกระเบนตีเหล็กแทงวิไสย กลดสุเมรุเครือวัลย์พันไม้ ประไลยวาตคิดประดิษฐ์ท� ำ กระหวัดเกล้าขี่ม้าเลียบค่าย กระต่ายต้องแร้วแคล้วถ�้ ำ ชักซอสามสายย้ายล� ำน� ำ เป็นแบบร� ำแต่ก่อนที่มีมาฯ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=