สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

47 กรรณิ การ์ วิ มลเกษม วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ เนื้อหา กล่าวว่า ในวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค�่ ำเดือนยี่ จุลศักราช ๑๐๘๘ (พุทธศักราช ๒๒๖๙) พญาหลวงเมืองเชียงรายมังพละสแพกผู้ เป็นโมยหว่ านเมืองเชียงแสน นางบุษบาสิริวัฒนเทพาราชกัญญา และเจ้าราชบุตรพระยอดง� ำเมือง มีศรัทธา สร้างปราสาทโลหะหนัก ๖ หมื่น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและพระธาตุ และ นางบุษบาสิริวัฒนเทพาราชกัญญาผู้เป็นแม่ได้อธิษฐานว่าเมื่อตายไปแล้วขอให้ได้ ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ขอให้ได้พบพระยอดง� ำเมืองราชบุตร และขอให้ได้ อุปัฏฐากพระจุฬามณี และเมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ได้บวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ความส� ำคัญ จารึกฐานปราสาทโลหะวัดวิชุนนี้เป็นจารึกหลักหนึ่งในจ� ำนวน ๗ หลัก ของกลุ่ม จารึกของพญามังพละสแพกและนางบุษบาสิริวัฒนเทพาราชกัญญา จารึก เหล่านี้มีความส� ำคัญต่อการศึกษาด้านการใช้ภาษาและพัฒนาการของตัวอักษร และอักขรวิธีอักษรธรรมล้านนาเป็นอย่างมาก เพราะมีอายุในช่วงที่พม่าปกครอง ล้านนาซึ่งพบจารึกน้อยกว่าช่วงเวลาอื่น นอกจากนี้ข้อความในจารึกยังให้ข้อมูล ด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรายและเมืองเชียงแสนแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม รวมทั้งลักษณะของพระพุทธรูป และปราสาทโลหะก็ยังใช้เป็นข้อมูล ในการศึกษาศิลปะเชียงแสนได้อีกด้วย รายละเอียดของจารึกอีก ๖ หลักมีดังนี้ ประเภทจารึก ชื่อจารึก/ศักราช ที่อยู่ปัจจุบัน จารึกบนฐานพระพุทธรูป - จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระเจ้า วัดพระเจ้าล้านทอง ล้านทอง (ชร. ๘)/จุลศักราช ๑๐๘๘ อ� ำเภอเชียงแสน (พ.ศ. ๒๒๖๙) จังหวัดเชียงราย - จารึกฐานพระปัจเจกพุทธ/ไม่ระบุ พิพิธภัณฑ์ กีเมต์ ศักราช (Musée Guimet) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จารึกบนฐานรูปพระ - จารึกฐานพระโมคคัลลา อยู่ที่เดียวกัน คือ วัดพระแก้ว อัครสาวก /จุลศักราช ๑๐๘๘ (พ.ศ. ๒๒๖๙) อ� ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย - จารึกฐานพระสารีบุตร /จุลศักราช ๑๐๘๘ (พ.ศ. ๒๒๖๙)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=