สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

จารึ กฐานปราสาทโลหะวั ดวิ ชุน เมื องหลวงพระบาง 46 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจารึก อักษร ธรรมล้านนา ภาษา ไทยล้านนา (ไทยถิ่นเหนือ) จารึกเมื่อ จุลศักราช ๑๐๘๘ ตรงกับพุทธศักราช ๒๒๖๙ จ� ำนวนด้าน/บรรทัด ๔ ด้าน ด้านละ ๓ บรรทัด รวม ๑๒ บรรทัด ลักษณะ เป็นปราสาทโลหะ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนยอดหายไป มีจารึกอยู่ที่ฐานทั้ง ๔ ด้าน จารึกด้านที่ ๑-๒ ตัวอักษรสมบูรณ์ ชัดเจน ด้านที่ ๓ ส่วนปลายและส่วนต้นของ ด้านที่ ๔ ช� ำรุด อยู่ที่ปัจจุบัน ในวิหารวัดวิชุน (วัดวิชุนนะราช) เมืองหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มา สันนิษฐานว่าปราสาทโลหะหลังนี้น่าจะสร้างที่เมืองเชียงราย หรือเมืองเชียงแสน ด้วยเหตุผลดังนี้ ๑. ข้อความของจารึกระบุผู้สร้างว่าเป็นเจ้าเมืองเชียงรายชื่อพญาหลวง เจ้ามังพละสะแพก และยังได้ปกครองเมืองเชียงแสนในต� ำแหน่ง โมยหว่าน (เจ้าเมือง) ดังความในจารึกด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๓-ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒ ว่า “...พญาหลวงเจ้ามังพละสแพกตนเสวยในเมืองเชียงราย ตนเป็นโมยหว่าน หลวงเมืองเชียงแสน แลบุษบาสิริวัฒนเทพาราชกัญญา แลเจ้าราชบุตรตนชื่อ พระยอดง� ำเมือง...” ซึ่งเจ้าราชบุตรพระยอดง� ำเมือง ก็เป็นเจ้าเมืองเชียงแสน ด้วยเช่นกัน (สรัสวดี อ๋องสกุล, ๒๕๔๖ : ๑๒๙) นอกจากนี้ยังพบจารึกฐานพระพุทธรูปและพระสาวกอีก ๓ องค์ที่กล่าว ถึงผู้สร้างและระบุปีที่สร้างในจุลศักราช ๑๐๘๘ เหมือนกับจารึกปราสาทโลหะที่ วัดวิชุน คือจารึกฐานพระพุทธรูป วัดพระเจ้าล้านทอง (ชร.๘) (ประเสริฐ ณ นคร และคณะ, ๒๕๓๔: ๒๐-๒๑) และจารึกฐานพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระโมคคัลลา และพระสารีบุตร (Griswold A. B., 1960: 3-24) ๒. ได้พบปราสาทโลหะที่จังหวัดเชียงราย (จารึก ชร.๙) ซึ่งมีลักษณะ และมีจารึกที่ฐาน ๔ ด้าน รวมทั้งระบุชื่อผู้สร้างเหมือนกับปราสาทโลหะที่ วัดวิชุน ต่างกันแต่ปราสาทโลหะที่จังหวัดเชียงรายสร้างหลังปราสาทโลหะ ที่วัดวิชุนประมาณ ๑ ปี ๗ เดือน เพราะสร้างในเดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๐๘๙ (พ.ศ. ๒๒๗๐) (ประเสริฐ ณ นคร และคณะ, ๒๕๓๔: ๒๒-๒๔) (ภาพที่ ๓)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=