สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ จารึกฐานปราสาทโลหะวัดวิชุน เมืองหลวงพระบาง* กรรณิการ์ วิมลเกษม ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ที่กรุณาตรวจทานและให้ค� ำอธิบายเกี่ยวกับฤกษ์ในจารึก บทคัดย่อ ปราสาทโลหะ พบที่วัดวิชุน เมืองหลวงพระบาง มีฐานสี่เหลี่ยมที่ช� ำรุดเป็นบางส่วน และ ส่วนยอดปราสาทหายไป มีจารึกภาษาไทยล้านนาด้วยอักษรธรรมล้านนาอยู่ที่ฐานทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๓ บรรทัด จารึกด้านที่ ๑-๒ ตัวอักษรสมบูรณ์ ชัดเจน ด้านที่ ๓ ส่วนปลายและส่วนต้นของด้านที่ ๔ ช� ำรุดท� ำให้อ่านค่อนข้างยาก เนื้อหาของจารึกกล่าวถึงการสร้างปราสาทโลหะหนัก ๖ หมื่น (ประมาณ ๗๒ กิโลกรัม) ของพญาหลวงมังพละสแพกผู้เป็นเจ้าเมืองเชียงรายและเมืองเชียงแสน นางบุษบาสิริวัฒนเทพา ราชกัญญา และเจ้าราชบุตรพระยอดง� ำเมือง ในวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค�่ ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๑๐๘๘ (พุทธศักราช ๒๒๖๙) เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและพระธาตุ และนางบุษบาสิริวัฒนเทพาราชกัญญาได้อธิษฐานว่า เมื่อนางตายไปแล้วขอให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ขอให้ได้พบกับพระยอดง� ำเมืองผู้เป็นราชบุตร ขอให้ได้อุปัฏฐากพระเจดีย์จุฬามณี และเมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ พระนางและราชบุตรได้บวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ จารึกฐานปราสาทโลหะวัดวิชุนนี้น่าจะสร้างขึ้นในเมืองเชียงรายหรือเชียงแสนพร้อมกับ จารึกอื่น ๆ อีก ๖ หลักของผู้สร้างเดียวกันที่พบในประเทศไทย จารึกนี้มีความส� ำคัญต่อการศึกษา ด้านการใช้ภาษาและพัฒนาการของตัวอักษรและอักขรวิธีอักษรธรรมล้านนาในช่วงที่พม่าปกครอง ล้านนาซึ่งพบจารึกน้อยมาก นอกจากนี้ข้อความในจารึกยังให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงราย และเมืองเชียงแสนอีกด้วย แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม ค� ำส� ำคัญ :  จารึก, ปราสาทโลหะ, วัดวิชุน, อักษรธรรมล้านนา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=