สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เรื่ องของนั สเร็ ดดิ น โฮจ้า 34 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 แต่เป็นการเก็บเล็กผสมน้อยจากอารมณ์ขันของชาวตุรกีและชาติต่าง ๆ ในโลก จึงอาจพูดได้ว่าโฮจ้าและ เรื่องของเขาถูกสร้างขึ้นโดยชนพื้นถิ่นในแถบอนาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ และยังคงถ่ายทอดกัน ต่อมาถึงปัจจุบันจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวตุรกีไปแล้ว ชื่อ Nassreddin ซึ่งแปลว่า “ชัยชนะแห่งศรัทธา” เขียนได้หลายแบบ ได้แก่ Nasreddin, Nasrettin, Nasrudin, Nasr-id-deen, Nasr-eddin, Nasi-rudin, Nasr-ud-Din, Nasr-Eddin, และ Nasr-Ed-Dine ส่วน Hodja ไม่ใช่นามสกุลแต่เป็นค� ำน� ำหน้าซึ่งหมายถึงครูหรือผู้คงแก่เรียน อาจเขียน เป็น Hodscha, Hoca, Chotza, Khodja และ Khoja ตามแต่ภาษาของแต่ละประเทศหรือท้องถิ่น ที่เรื่องของโฮจ้าแพร่หลายไปถึง แต่โดยทั่วไปผู้คนมักเรียกเขาว่า the Hodja เพื่อเป็นการยกย่อง ไม่ว่าโฮจ้าจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงหรือเป็นเพียงต� ำนานก็เป็นที่เชื่อกันว่าเขาเกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๒๐๘ ที่หมู่บ้าน Horto ใกล้กับเมือง Sivrihisa ซึ่งอยู่ที่อนาโตเลียตะวันตกในประเทศตุรกี บิดาของเขาเป็น อิหม่ามของหมู่บ้านและตัวโฮจ้าเองก็ท� ำหน้าที่นั้นด้วยก่อนจะย้ายไปอยู่ที่เมือง Aksehir ซึ่งอยู่ใน Konya เมื่อ ค.ศ. ๑๒๓๗ เพื่อเป็นนักบวช Dervish ๑ และศิษย์ของ mystic หรือผู้ที่สื่อสารกับพระเจ้าโดยผ่าน การเข้าฌานที่มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Seyid Mahmud Hayrani กับ Seyid Haci Ibrahim โดยท� ำหน้าที่ Kadi หรือผู้พิพากษาอิสลามเป็นครั้งคราวและเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย โฮจ้าถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. ๑๒๘๔ และถูกฝังอยู่ที่เมือง Aksehir ซึ่งยังมีผู้คนไปคารวะที่ฝังศพของเขาจนทุกวันนี้ นักเขียนและ ศิลปินตุรกีใช้ตัวละครจากเรื่องของโฮจ้าในการสร้างผลงานละคร ดนตรี ภาพยนตร์ การ์ตูน และภาพวาด ซึ่งท� ำให้โฮจ้ายังอยู่ในความทรงจ� ำของคนปัจจุบัน เนื่องจากโฮจ้าเป็นที่รู้จักในระดับโลกจึงมีการจัดงาน International Nassreddin Hodja Festival ที่เมือง Aksehir ทุกปีระหว่างวันที่ ๖-๗ กรกฎาคม เรื่องของโฮจ้ามีเนื้อหาหลากหลาย เกี่ยวกับชีวิตในสังคม ความแตกต่างระหว่างชนชั้นปกครองกับ คนสามัญ ความอดอยาก ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับวัตถุ คนกับสัตว์ มีโฮจ้าเป็นสัญลักษณ์ ในเรื่องเหล่านี้ซึ่งได้แพร่ทางมุขปาฐะไปสู่ดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ์อ็อตโตมานและดินแดน ที่ใช้ภาษาตุรกีเป็นภาษาพูด ปัจจุบันมีการเล่าเรื่องของโฮจ้าเป็นวงกว้างจากเติร์กเมนิสถานตะวันออกไป ถึงฮังการี และจากไซบีเรียตอนใต้ไปถึงแอฟริกาเหนือ ต่อไปนี้คือตัวอย่างเรื่องของโฮจ้า ๑ Dervish: นักบวชในศาสนาอิสลามที่เต้นร� ำหมุนเป็นวงกลมเพื่อแสดงความศรัทธา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=